วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นกเงือก...นกที่ซื่อสัตย์ต่อคู่ชีวิต


    ได้มีโอกาสดูสารคดีเกี่ยวกับชีวิตนกเงือก  และได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของนกเงือกมาเยอะพอสมควร
เลยอยากจะเอามาเก็บไว้เป็นสาระน่ารู้ไว้ใน blog  และที่สำคัญตั้งใจจะใช้ชีวิตครอบครัว
ตามนกเงือก คือ เมื่อเลือกคู่ชีวิตแล้ว  จะซื่อสัตย์ต่อคู่  เหมือนที่นกเงือกต่างก็ซื่อสัตย์ต่อกัน
ลองมาอ่านดูนะว่า  นกเงือกน่าสนใจแค่ไหน.....   

 
  นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู๋กี๋  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aceros undulatus (บางตำราใช้ว่า Rhyticeros undulatus)  ชื่อชนิดมาจากรากศัทพ์ภาษาละติน คือ undulat หรือ uada แปลว่า คลื่น และ -tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ "ปากและโหนกแข็งมีลวดลายคล้ายคลื่น" พบและจำแนกชนิด ได้ครั้งแรก ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกเงือกกรามช้าง 2 ชนิดย่อย คือ A. U. undulatus และ A. U. Ticehursti พบชนิดย่อยนี้ที่จังหวัด น่าน ประเทศไทยพบทั้งสองชนิดย่อย
นกเงือกกรามช้าง  มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "นกกู๋กี๋" เข้าใจว่าชื่อจะเพี้ยนมาจากสำเนียงภาษาปักษ์ใต้  ที่เรียกนกชนิดนี้ว่า "นกคู่คี่"  เพราะจากปากคำของชาวบ้านที่อธิบายถึงที่มาของชื่อนี้ว่า  นกชนดนี้บินไปทำรังเป็น คู่  แล้วกลับมา คี่  คือได้ลูกมา 1 ตัว ฟังดูก็นับว่าเข้าเค้า  แต่ชื่อนกเงือกกรามช้าง ก็ฟังดูเหมาะสมดี เพราะลักษณะของปากนกชนิดนี้ มีรอยหยักคล้ายกรามช้าง ยิ่งอายุมาก รอยหยักนี้จะปรากฎเด่นชัดขึ้น และ มีจำนวนหลายหยัก ด้วยกัน
รูปร่างลักษณะ  นกเงือกกรามช้าง หรือนกกู๋กี๋  เป็นนกขนาดใหญ่มาก  ความยาวจากปลายปากจดหาง นกตัวผู้ 100.5 - 115 ซม. นกตัวเมีย มีขนาดเล็ก กว่านกตัวผู้เล็กน้อย คือ 84 - 98 ซม. นกเงือกกรามช้างที่พบทางใต้ของประเทศไทยและคาบวมุทรมาลายู จะมีขนาดเล็กกว่า นกที่พบแพร่กระจายทางตอนเหนือของเขตแพร่กระจายพันธุ์
นกตัวผู้  ขนคลุมลำตัวเป็นสีดำ บริเวณด้านข้างของหัว คอ และ อก สีออกน้ำตาลปนขาว ขนหางสีขาว มีประจุดสีออกเหลือง ปนน้ำตาลเล็ก ๆ ประปราย ถุงใต้คางสีเหลืองมีแถบสีดำ ปาก สีงาช้าง หรือ ขาวอมเหลือง กลางปากเป็นสีเข้มและสีอ่อนลงจนเป็นสีอ่อนที่โคนปาก กลางกระหม่อม ลงที่ ถึงหลังคอ มีแถบสีน้ำตาลเข้ม โคนปากมีรอยหยักเป็นบั้ง ๆ ซึ่งมีลักษณ์ที่ทำให้มองดูคล้ายกรามของช้าง เป็นที่มาของชื่อนกเงือกชนิดนี้ ชนิดย่อย ticehursti  นกตัวผู้บริเวณกระหม่อมมีสีขาว หงอนขนสีน้ำตาลเข้ม วงรอบเบ้าตาสีแดง หน้าผาก ใบหน้า และ คอ สีขาว ถุงใต้คางสีเหลือง โหนกแข็งบนหัวมีขนาดเล็ก แต่มีรอยบั้งชัดเจนกว่าของนกตัวเมีย
นกตัวเมีย  หัว คอ และ อก สีดำ วงรอยเบ้าตาสีจางไม่ฉูดฉาด หน้าผาก กระหม่อม หงอนขน ใบหน้า และ คอ มีสีดำ โหนกแข็งเล็ก ถุงใต้คางมีสีฟ้า
ทั้งสองเพศคล้ายนกตัวผู้ที่เต็มวัย รอยบั้งที่โคนปากยังไม่ชัดเจน โหนกแข็งเล็กกว่าตัวที่เต็มวัย รอยขีดสีดำที่ถุงใต้คอ ยังไม่เข้มชัด
นิสัยประจำพันธุ์  มักพบอยู่เป็นฝูงขนาดเล็ก แต่ในบริเวณที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ อาจพบฝูงขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะพบเกาะนอนรวมกันจำนวนมาก ตามยอดไม้ในบริเวณที่ไม่ถูกรบกวน
พฤติกรรมการป้อนอาหารของนกเงือก เป็นเรื่องที่ประทับใจ อาจารย์พิไล พูลสวัสดิ์ ผู้ศึกษาวิจัยนกเป็นอย่างมาก ท่านเล่าไว้ว่า พ่อนก จะป้อนให้จนถึงปากตัวเมีย ไม่มีการขยอกใส่เข้าในรัง แล้วปล่อยให้เก็บกินเองเด็ดขาด ตัวผู้ป้อน หรือ พยายามป้อนให้นกัวเย รับจากปาก ของมัน เพราะบางครั้งตัวเมียก็เล่นตัวไม่ยอมรับ หรือ รับอย่างเสียไม่ได้ แล้วโยนทิ้งออกมาต่อหน้าต่อตา ซึ่งนกตัวผู้จะมองตามอย่างเสียดาย ถ้าเป็นแมลงจะสังเกต เห็นว่า พ่อนกจะไล่ตามเก็บมาป้อนอีก  บางครั้งพ่อนกต้องล่อหลอกป้อนผลไม้บ้าง จึงอาจกล่าวได้ว่า นกตัวเมีย มีส่วนในการกำหนดรายการอาหารอยู่เหมือนกัน นอกจากหาอาหารมาป้อนแล้ว พ่อนกทุกตัวยังมีหน้าดูแลทำความสะอาดปากโพรงอยู่เสมอ ถึงแม้ว่านกเงือกจะมีนิสีย ถ่ายมูลออกนอกโพรง แต่ถ้าลูกนกยังเล็ก จนไม่สามารถถ่ายมูลให้พ้นจากโพรงได้ แม่นกก็ต้องคอยเขี่ยทิ้งบ้าง ถ้ายังติดอยู่ที่ส่วนล่างของปากโพรง พ่อนกจะทำหน้าที่เป็น "ผู้พิทักษ์ความสะอาก " ต่อ
ภาระอันหนักอึ้งในแต่ละวันของพ่อนกเงือก จะสิ้นสุดลงเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน  ซึ่งบางครั้งอาจเลยไปถึง อาจเลยไปถึงเกือบ 19.00 น.  ต่อจากนั้นพ่อนกก็จะบินไปหาที่นอน ซึ่งอาจอยู่ใกล้แหล่งอาหารแหล่งใดแหล่งหนึ่ง เพื่อที่ว่าในเมื้อแรก ของวันรุ่งขึ้น จะได้ไม่เสียเวลาเสาะหา มากนัก
เมื่อย่างเข้าฤดูฝน ในราว ปลายเดือนพฤษภาคม หรือ ต้นมิถุนายน จะเป็นช่วงที่ภาระของพ่อนกใกล้สิ้นสุดลง นั้นคือแม่และลูก  ซึ่งโตจะออกมา สู่โลกภายนอก ได้พากันออกจากโพรง ซึ่งระยะเวลาหลังจากนี้ไปเรียกว่า เป็น ช่วงนอกฤดูทำรัง  ที่ทั้งพ่อและแม่นกจะช่วยกันเลี้ยงลูก ซึ่งจะยังคงอยู่กับพ่อแม่ ไปจนถึงฤดูทำรังของปีต่อไป ใกล้เข้ามา   เป็นวัฎจักรวนเวียนอยู่เช่นนี้
                   ในช่วงนอกฤดูทำรัง นกเงือกมักรวมฝูงกันใหญ่บ้างเล็กบ้าง แล้วแต่ชนิด  คำว่า " รวมฝูง " หมายถึง ครอบครัวหลายๆครอบครัวมารวมกัน  แล้วพากัน ไปหากินยังที่ใดที่หนึ่ง  ตกเย็นก็มานอนรวมกัน  ตามหุบเขาในป่าลึก หรือตามชายป่า แล้วแต่ชนิด ในบรรดานกเงือก 4 ชนิด นกกู๋กี๋ จะรวมฝูงเป็นจำนวน มากที่สุด และ มักนอนตามหุบเขาในป่าลึก  พอเช้าตรู่ก็จะพากันออกไปหากินเป็นฝูงใหญ่
    เมื่อนักดูนกพบแหล่งที่นอนของนกกู๋กี๋ แล้ว ช่วงที่ตื่นเต้นที่สุดเห็นจะได้แก่ ช่วงเวลาที่เราคอยดู และ นับนกที่บินผ่านเราในหุบเบื้องล่างนั้น  เพราะ เป็นภาพที่น่าดูยิ่ง  ราวกับลำน้ำที่ไหลคดเคี้ยว  ไประหว่างขุนเขาทะมึนที่ขนาบอยู่สองข้าง  ปีที่อาจารย์พิไล พูลสวัสดิ์  สามารถนับจำนวนนกกู๋กี๋ หรือ นกเงือกกรามช้าง ได้มากที่สุด  เมื่อทำงานวิจัยที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ก็คือปี 2527 ซึ่งนับได้ถึงกว่า 1,000 ตัว   เวลาที่ผู้เฝ้าดูอยู่ภายในหุบแล้ว ฝูงนกกู่กี๋บินผ่านศรีษะ  เสียงปีกที่แหวกอากาศ  ของนกเป็นสิบเป็นร้อยนั้น  จะดังราวกับพายุทีเดียว เนื่องจากนกเงือก ไม่มีขนคลุมด้านใต้ของ ปีก  จึงทำให้อากาศผ่านช่วงล่างระหว่างโคนขนปีกได้ และ เกิดเสียงดังมาก
 นกกู่กี๋  เป็นนกเงือกที่บินแข็งที่สุด  มันสามารถบินโดยตีปีกติดต่อกัน  จากเขาลูกหนึ่ง ไปยังเขาอีกลูกหนึ่ง  ที่ห่างกันอย่างน้อย  1 กม. ได้โดยไม่ต้อง หยุดพัก  ซึ่งต่างจากนกกก นกแก๊ก และ นกเงือกสีน้ำตาล  ที่จะตีปีกได้เพียง 4 - 5  ครั้ง  แล้วร่อนไปเป็นระยะๆ  ทั้งยังต้องหยุดพักตามต้นไม้ด้วย
   แหล่งอาศัยหากิน  พบตามป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น  ป่าดงดิบเขา และ ป่าชายเลน  ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนถึงระดับความสูง 1,830  เมตร จากระดับน้ำทะเล  นอกจากนี้ยังพบตามป่า บนเกาะ ในทะเล  ที่ไม่ห่างจากฝั่งแผ่นดินใหญ่มากนักด้วย  หรือ บินมาหาอาหารที่ฝั่งแผ่นดินใหญ่  แล้วกลับ ไปนอนบนต้นไม้ในป่าบนเกาะ

ที่มา  http://withmylove.exteen.com/20080506/entry

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น