วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของนกเงือก


          นกเงือก (Hornbill) เป็นนกที่มีรูปร่างหน้าตาโบราณ ถือกำเนิดมาไม่น้อยกว่า 45 ล้านปี จัดอยู่ในวงศ์ Bucerotidae มีอยู่ด้วยกัน 52 ชนิดในโลก ซึ่งไม่นับรวม Ground Hornbill 2 ชนิดของแริกา พบได้ในป่า และทุ่งหญ้าเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชียเท่านั้น
             ในประเทศไทยมีนกเงือก 12 ชนิด ได้แก่ นกกก (Great Hornbill) นกเงือก กรามช้าง (Wreathed Hornbilll) นก แก๊ก (Oriental Pied Hornbill) นกเงือก สีน้ำตาลคอขาว (White-throated Brown Hornbill) นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros Hornbill) นกชนหิน (Helmeted Hornbill) นกเงือกหัวหงอก (White-crowned Hornbill) นกเงือกปากดำ (Black Hornbill) นกเงือกดำ (Black Hornbill) นกเงือกสีน้ำตาล (Brown Hornbill) นกเงือกปากย่น (Wrinkled Hornbill) นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Plain-pouched Hornbill) และนกเงือกคอแดง (Rufous-necked Hornbill) นกเงือกเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ จึงถูกจัดให้เป็น Flagship species Keystone species และ Umbrella species ของป่าเขตร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นกเงือกมีบทบาทเด่นในระบบนิเวศป่าและหลายชนิดอยู่ในสภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ นกเงือกเป็นตัวช่วยกระจายพันธุ์ไม้ (Seed disperser) ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากพฤติกรรมการเลือกกินผลไม้สุก และนำพาเมล็ดไปทิ้งในพื้นที่ต่างๆ ที่นกเงือกบินไปหากินในแต่ละวัน จากการวิจัยพบว่านกเงือกกินผลไม้ได้มากกว่า 300 ชนิด 100 สกุล 40 วงศ์ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีขนาดผลใหญ่กว่า 1.5 ซม ซึ่งนกขนาดเล็กไม่สามารถช่วยกระจายเมล็ดได้ จึงต้องอาศัยนกเงือกเป็นกำลังสำคัญ นกเงือกจึงช่วยรักษาความหลากหลายของพืช โดยเป็นผู้ล่าที่สำคัญของระบบนิเวศป่า ช่วยควบคุมประชากรสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงและหนู เป็นต้น จากความสัมพันธ์ของนกเงือกกับระบบนิเวศป่าสมบูรณ์ในแง่ต่างๆ ทำให้นกเงือกมีความอ่อนไหวต่อพื้นที่ป่าที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจัดนกเงือกเป็น Indicator species ของป่าแต่ละแบบได้อีกด้วย หากนกเงือกมีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ไป จากพื้นที่ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกหลายชนิดอาจสูญพันธุ์ตามไปด้วย โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ที่เป็นอาหารของนกเงือก


ที่มา http://kularbly.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431535

ลักษณะของนกเงือก


       
   นกเงือกมีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นนกที่มีขนาดใหญ่และยังจัดได้ว่าเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของป่าเขตร้อนอีกด้วย นกเงือกมีหน้าตาออกจะโบราณสักหน่อย ไม่มีสีสันสวยงามนัก สีขนมักมีสีดำ-ขาว ที่แปลกออกไปบ้างคือสีน้ำตาล เทา มีขนาดใหญ่ ถึงใหญ่มาก บางชนิดอาจมีขนาดตัวถึง 1.5 เมตร ความกว้างของปีกที่กางออกอาจถึง 2 เมตร เช่น นกกก แต่มีลักษณะที่น่าขันคือ มันมีปากใหญ่ผิดสัดส่วนกับหัว แถมมี โหนก เหนือปากทำให้ดูเกะกะ ลูกตาและทำให้ดูเหมือนว่าเจ้านกเงือกจะต้องคอนโหนกที่ดูหนักอึ้งเกินความจำเป็น ลักษณะของ โหนก หรือ casque ที่ว่านี้ ลวงตาดูว่าหนักที่จริงโหนกเป็นโพรง ยกเว้นโหนกของนกชนหิน ( Helmeted Hornbill ) ที่ตันดุจเดียวกับงาช้าง เจ้าโหนกของนกเงือกนี้จะช่วยเราจำแนกชนิดนกกก
         
           
บ้างก็มีรูปทรงกระบอกทอดนอนตามความยาวของจงอยปากดูคล้ายกล้วยหอม แต่มีปลายงอนขึ้น เช่น โหนกของนกเงือกหัวแรด บ้างก็มีโหนกขนาดเล็กเป็นหยักเป็นลอนดูคล้ายกรามช้าง เช่น นกเงือกกรามช้าง ที่ไม่มีโหนกก็มีเช่น นกเงือกคอแดง นกเงือกจะมีส่วนหนังเปลือยเป็นสีฉูดฉาดอยู่บ้าง เช่น หนังบริเวณคอ ขอบตา เป็นต้น มีขนตายาวงาม ขาสั้น ชอบกระโดด ลิ้นสั้นจึงกินอาหารโดยจัดอาหารอยู่ที่ส่วนปลายปากแล้วโยนกลับลงคอไปปกตินกเงือกจัดได้ว่ากินอาหารทั้งผลไม้และสัตว์เล็ก ๆ แต่ผลไม้พวก ไทร ดูจะเป็นอาหารหลักของนกเงือกเอเซียนอกจากเสียงร้องดังแล้ว นกเงือกเป็นนกที่บินเสียงดังมากโดยเฉพาะนกเงือกขนาดใหญ่ เสียงดังนี้เกิดจากที่อากาศผ่านช่องว่างระหว่างโคนขนปีกเนื่องจากนกเงือกไม่มีขนคลุมด้านใต้ของปีก เมื่อกระพือปีกแต่ละครั้งจึงเกิดเสียงดังราวกับรถจักรไอน้ำ และหากนกเงือกขนาดใหญ่บินมาเป็นฝูงจะทำให้เกิดเสียงดังราวพายุ


ที่มา http://kularbly.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431538

การทำรังของนกเงือก


      อุปนิสัยในการทำรังของนกเงือกเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัวของนกในวงศ์นี้ ( Bucerotidae ) คือทำรังในโพรงไม้ แต่มันจะไม่สามารถเจาะรังได้เองอย่างนกหัวขวาน แต่จะเสาะหาโพรงที่มีอยู่โดยธรรมชาติหรือที่มีสัตว์อื่นทำให้เกิดขึ้น ที่แปลกคือไม่เพียงแต่เข้าไปอยู่ในโพรงนกเงือกตัวเมียยังปิดปากโพรงเสียด้วยวัสดุต่าง ๆ อันได้แก่ มูลของมันเอง เศษไม้ ดิน เป็นต้น ผสมกันพอกปากโพรงให้เล็กลงจนเหลือเพียงช่องแคบ ๆ เพียงพอที่พ่อนกจะส่งอาหารผ่านด้วยจงอยปาก นกเงือกตัวเมือจะออกไข่ ฟักไข่ และเลี้ยงลูกอยู่ภายในโพรงจนกว่าลูกนกจะโตพอที่จะบินได้จึงจะกระเทาะปากโพรงออกมา ซึ่งกินเวลาประมาณ 3-4 เดือน

       โพรงรังของนกเงือกโดยขนาดของต้นไม้ที่มีโพรงใหญ่พอ หากวัดที่ระดับความสูงของหน้าอกคนวัดเส้นผ่าศูนย์กลางตกราว ๆ 1 เมตร ปากโพนงจะต้องไม้ใหญ่หรือเล็กเกินไปขนาดพอดีๆ ก็ตกราว 20*12 ซม.ความสูงของเพดานรังกว่า 1 เมตรขึ้นไปพื้นโพรงรังต้องไม่ลึกต่ำกว่าขอบประตูล่างมากนัก ความกว้างภายในโพรงใหญ่พอก็ประมาณ 50*40 ซม. โดยปกตินกเงือกจะใช้โพรงปีแล้วปีเล่าหากโพรงนั้นยังเหมาะสมอยู่ ตัวผู้จะเชิญชวนตัวเมียให้เข้าไปดูรังด้วยการโผบินไปเกาะปากโพรง แล้วยื่นหัวเข้าไปสำรวจภายใน บินเข้าออกหลายครั้ง ขณะเดียวกันก็เกี้ยวพาราสีกันด้วย ตัวผู้จะกระแซเข้าใกล้ตัวเมียและพยายามป้อนอาหารซึ่งได้แก่ ผลไม้ให้ตัวเมียบางคู่อาจใช้เวลานานหลายวันกว่าตัวเมียจะสนใจและยอมบิน เข้ามาดูรัง
รังนกเงือกหัวแรด
                                                                                                                     
รังนกกก
รังนกเงือกกรามช้าง
           
                                                                     










 เมื่อคิดว่าได้โพรงที่เหมาะเป็นที่ถูกใจแล้ว ตัวเมียจะเริ่มงานทันที ถ้าปากโพรงแคบไปเนื่องจากการเจริญเติบโตของต้นไม้นกจะเจาะปากโพรงให้กว้างอีกเล็กน้อย กระเทาะวัสดุปิดรังเก่า ๆออก แล้วจะมุดเข้าไปในโพรง จากนั้นตัวเมียจะทำความสะอาดภายในโพรงโดยการคาบเศษเมล็ดผลไม้เก่า ๆ เศษขนของปีก่อนโยนทิ้ง แล้วเริ่มปิดปากโพรงเสียใหม่ วัสดุที่หาได้จะถูกผสมกับมูลของตัวเมียรวมทั้งอาหารที่สำรอกออกมาแล้วพอกลงบนปากโพรงที่เปรียบเหมือนประตู โดยใช้จงอยปากด้านข้างตีให้ติดกัน เมื่อวัสดุนี้แห้งจะแข็งและเหนียวมาก ตัวผู้อาจช่วยหาวัสดุเช่นดิน หรือ เปลือกไม้มาให้ แล้วแต่ชนิดของนกเงือกว่าชอบประตูที่ทำด้วยวัสดุอะไร เช่น นกกกใช้เปลือกไม้ เศษไม้ผุ ๆ เศษอาหารแต่ไม่ใช้ดินเลย ตรงข้ามนกแก๊กจะใช้ดินเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ตัวผู้จะคอยเฝ้าเป็นเพื่อนอยู่ข้างนอกเกือบตลอดเวลา และคอยป้อนอาหารหลังจากตัวเมียเสร็จงานปิดโพรงในแต่ละวัน บางคู่จะส่งเสียงเบา ๆ ราวกับปลอบประโลมให้ตัวเมียอุ่นใจ และเมื่อหากตัวผู้แวบหายไปชั่วคู่ชั่วยาม ตัวเมียจะละงานปิดโพรงตามไปทันที่ ตัวผู้จะต้องพากลับมาที่โพรงอีก จะใช้เวลาปิดปากโพรงอยู่ราว 3-7 วัน เมื่อตัวเมียขังตัวเองอยู่ภายในโพรงเรียบร้อยแล้ว ตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลอย่างเคร่งครัดน่ายกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่งนับเป็นเยี่ยงอย่างที่ดี ในระยะแรกๆ ในการทำรังคือช่วงตัวเมียฟักไข่ การป้อนอาหารจะไม่บ่อยนัก ราววันละ 2-3 ครั้ง อาหารส่วนมากจะเป็นพวกผลไม้ ระยะนี้ตัวผู้พอมีเวลาให้ตัวเองบ้างก็จะแต่งตัวให้หล่ออยู่เสมอ ส่วนตัวเมียก็จะถือโอกาสนี้ผลัดขนเสียใหม่


ฤดูทำรัง

     ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่คู่ผัวเมียจะเริ่มกลับไปที่รังเดิมหรือเสาะหารังใหม่เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนราวเดือนธันวาคม-เดือนมกราคม ในช่วงเวลานี้มักจะได้เห็นนกเงือกโดยเฉพาะตัวผัวกระตือรือร้นที่จะสำรวจดูช่องรูโพรงต่างๆ หรึอแม้แต่ช่องที่เราทำขึ้นที่ซุ้มบังไพรสำหรับการเฝ้าสังเกตของเรา

       
ที่มา http://kularbly.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431539





http://www.youtube.com/watch?v=24_bMUX6KIQ

วงจรชีวิตนกเงือก


 วงจรชีวิตของนกเงือก อาจแบ่งง่ายๆ ออกได้เป็น 2 ช่วง ดังนี้

1.ฤดูผสมพันธุ์

                ชีวิตรักของนกเงือกเริ่มต้นราวกลางเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ นกเงือกตัวผู้จะบินไปเสาะหาโพรงไม้ โดยมีนกเงือกตัวเมียบินติดตามไปดูด้วย นกเงือกตัวผู้จะคาบผลไม้แล้วพยายามป้อนให้นกเงือกตัวเมีย การเกี้ยวพาราสีลักษณะแบบนี้ มักจะพบเห็นในบริเวณใกล้ๆ กับต้นไทรหรือต้นไม้ที่นกเงือกจะใช้เป็นที่ทำรังและวางไข่เมื่อนกเงือกตัวผู้ต้องการให้นกเงือกตัวเมียเข้าไปในโพรง มันจะเชิญชวนด้วยการบินเข้าไปเกาะปากโพรงแล้วยื่นจะงอยปากเข้าไปในโพรง บางครั้งก็ใช้ด้านข้างของจะงอยปากตีรัวเบาๆ กับผนังปากโพรงทั้ง2ข้างจากนั้นมันจะบินออกมาเกาะที่กิ่งไม้หากนกเงือกตัวเมียมีความพร้อมมันจะบินไปเกาะปากโพรงแล้วมุดหัวเข้าไปสำรวจดูภายในโพรงว่าข้างในมีสภาพเหมาะสมสำหรับใช้เป็นที่วางไข่และเลี้ยงลูกอ่อนหรือไม่เมื่อนกเงือกตัวเมียรับการเชิญชวน มันจะมุดเข้าไปในโพรงเพื่อทำความสะอาด แล้วเริ่มปิดปากโพรงเสียใหม่โดยใช้วัสดุเท่าที่จะหาได้ภายในโพรงผสมกับมูลของมันรวมทั้งอาหารที่มันสำรอกออกมา เมื่อนกเงือกตัวเมียขังตัวเองอยู่ภายในโพรงเรียบร้อยแล้ว นกเงือกตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลอย่างดีน่ายกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง ในระยะแรกๆ ของการทำรังคือช่วงที่ตัวเมียฟักไข่อยู่นั้น นกเงือกตัวผู้จะป้อนอาหารไม่บ่อยนัก อาหารส่วนมากจะเป็นพวกผลไม้ และช่วงนี้เองที่นกเงือกตัวเมียจะผลัดขนใหม่โดยเฉพาะขนปีกครั้นลูกนกฟักออกจากไข่เป็นตัวแล้ว นกเงือกตัวผู้ต้องรับภาระหนักมากยิ่งขึ้นโดยพ่อนกจะนำอาหารมาป้อนตั้งแต่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งหลังพระอาทิตย์ตก การป้อนอาหารจะถี่ขึ้นเรื่อยๆ ถึงประมาณวันละ 10 ครั้งหรือกว่านั้น อาหารที่พ่อนกนำมาป้อนมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผลไม้หรือสัตว์เมื่อลูกนกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว พ่อนกและแม่นกยังคงหาอาหารมาป้อน และช่วยสอนให้ลูกนกบินร่อนไปในหมู่ไม้อีกประมาณ 5-6 เดือน หรือจนกว่าใกล้จะถึงฤดูทำรังใหม่ก็เป็นอันว่าลูกนกเจริญเติบโต สามารถหาอาหารและดูแลตัวเองได้
     
2.นอกฤดูผสมพันธุ์


               หลังจากที่แม่และลูกนกเงือกออกจากโพรงแล้ว ระยะแรกของฤดูนี้มักเห็นนกเงือกอยู่กันเป็นครอบครัว พอถึงกลางฤดูฝน นกเงือกจะรวมฝูงกันมากขึ้นในช่วงที่รวมฝูงกันอยู่นั้น ทุกๆ เช้า ฝูงนกเงือกจะค่อยๆ ทยอยบินออกจากที่เกาะนอนไปยังแหล่งอาหาร จนกระทั่งตอนเย็น นกเงือกก็จะทยอยบินมาเกาะนอนรวมกันบนต้นไม้ในหุบเขาครั้นถึงกลางฤดูหนาวซึ่งใกล้ฤดูผสมพันธุ์ จำนวนของนกเงือกในฝูงก็จะเริ่มลดจำนวนลงเรื่อยๆ และเริ่มแยกเป็นคู่ๆ กลับไปยังโพรงเก่าหรือเสาะหาโพรงใหม่ เพื่อทำรังและวางไข่อีกครั้ง วนเวียนกันอยู่เช่นนี้ปีแล้วปีเล่า


ที่มา http://kularbly.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431534

อาหารนกเงือก


จำพวกผลไม้


        นกเงือกจัดเป็นนกที่กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร ผลไม้ที่นกเงือกกินนั้นมีมากกว่า 60 ชนิดผลไทร จัดได้ว่าเป็นอาหารหลักของนกเงือกและมีผลสุกหมุนเวียนในช่วงเวลาต่างๆ กันในรอบปีทำให้สัตว์ป่าที่กินผลไม้มีแหล่งอาหารกินได้ตลอดทั้งปีไม่ขาดแคลนผลไม้อื่น ๆ มีผลไม้หลายชนิดที่เป็นอาหารของนกเงือก จะพบว่าชนิดที่นกกินมาก ได้แก่ ยางโอน สุรามะริด ดาเสือ ผลไม้เหล่านี้จะออกลูกและสุกในช่วงที่ตรงกับฤดูผสมพันธุ์ของนกเงือก

   
       
     
                                   
ตาเสือใบเล็ก
( Dysoxylum crytobotryum)
ตาเสือเมล็ดเขียวเล็ก
( Dysoxylum macrocarpum)
                                                  
                                                                       
                 
                                                       

 อาหารจำพวกสัตว์ 

      นกเงือกกินสัตว์หลากชนิดไม่น้อยไปกว่าผลไม้ ได้แก่ แมลงต่าง ๆ เช่น ตั๊กแตน จักจั่น ฯลฯ และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น ตะขาบ กบ เขียด ฯลฯ หรือแม้แต่สัตว์ที่มีความว่องไวอย่างเช่น หนู นกกก ก็ยังสามารถจับกินเป็นอาหารได้


                           

ที่มา http://kularbly.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431556


"นกเงือก"อยู่ได้ป่าอยู่คง


 วันวาเลนไทน์ทุกปีกำหนดให้เป็นวันรักนกเงือก  ในฐานะสัตว์ที่มีสัญลักษณ์ของความรักเดียวใจเดียว ปัญหาป่าไม้ที่ถูกรุกรานทำให้บ้านของนกเงือก ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่พอจะสร้างโพรงรังเหลือน้อยลง จำเป็นต้องเข้าไปจัดการเรื่องรังเทียมเพื่อให้นกเงือกมีที่วางไข่ เป็นอีกแนวทางเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรนกเงือกให้คงอยู่คู่กับป่าไทย งานวันรักนกเงือกที่จัดขึ้น ที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดลในปีนี้ใช้ชื่อตอนว่า “รักแท้เพื่อรังเทียม” โดยผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย ฮอนบิลล์ บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  (มหาชน)จัดขึ้นเพื่อระดมทุนและสนับสนุนงบประมาณในการสนับสนุนงานวิจัยและอนุรักษ์นกเงือกของมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก  โดยการริเริ่มของ ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน

ศ.ดร.วิจักขณ์ ฉิมโฉม เลขาธิการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก กล่าวว่า ลูกของนกเงือกคอแดงลดลงในปี 2554 ในพื้นที่ป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี เมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ คาดว่าเกิดจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ผลไม้ที่เป็นอาหารของนกเงือกไม่ออกผล เช่น ลูกไทร ตาเสือ ยางโอน เป็นต้น แม้ในปี 54 จะเกิดปัญหาน้ำท่วมในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพฯ แต่ลักษณะของฝนที่มีปริมาณมากปกติไม่ตกต้องตามฤดูกาล  หรือการตกเหนือเขื่อนไม่ได้มีผลทำให้ป่ามีความชุ่มชื้นขึ้น

“ อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมายังไม่สามารถระบุได้ว่าต้นไม้ในป่าไม่ออกผล เป็นปัจจัยมาจากสภาพอากาศ เพราะธรรมชาติของไม้ผลจะมีบางปีที่ให้ผลดกบางปีไม่มีผลสลับกัน”

เลขาธิการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก เล่าให้ฟังว่า ทางมูลนิธิได้เข้าไปปรับปรุงรังตามธรรมชาติและติดตั้งรังเทียม พบว่ารังตามธรรมชาติที่นกเงือกใช้บางครั้งมีขนาดไม่พอดี สภาพรังลึก ปากรังแคบนกเข้าไปทำความสะอาดไม่ได้นกจะไม่อาศัย และระดับของรังที่ไม่ได้ระดับของการป้อนอาหารระหว่างลูกนกกับพ่อแม่ เพราะนกเงือกจะป้อนอาหารปากต่อปากเท่านั้น ทางทีมวิจัยต้องเข้าไปต่อเติมกิ่งไม้เพื่อให้นกมีที่เกาะป้อนอาหาร หรือการเข้าไปขยายปากโพรงให้กว้าง ทั้งนี้ตลอดที่มีการติดตั้งรังเทียมมีนกเงือกบางพันธุ์ที่เข้ามาใช้รังเทียม
     
“ปัญหาใหม่คือ สภาพของรังเทียมมีอุณหภูมิไม่คงที่กลางคืนจะเย็นมาก กลางวันจะร้อนไม่เหมือนกับโพรงไม้จากธรรมชาติ ทั้ง ๆ ที่มีการติดตั้งผนังกันร้อนแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาที่จะนำไปแก้ไขต่อไป”

พื้นที่การทำงานวิจัยของมูลนิธิฯ19 ปีที่ผ่านมา ได้กำหนดเก็บข้อมูลศึกษาวิจัยถิ่นอาศัยของนกเงือกที่สำคัญได้แก่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา นกเงือกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี จ.นราธิวาส นอกจากนักวิชาการจากส่วนกลางแล้วมีนักวิจัยชาวบ้าน ร่วมเก็บข้อมูล อนุรักษ์นกเงือกด้วยตัวอย่าง นิมุ รายอคารี ชาวบ้านวัย 60 ปีในหมู่บ้านตะโล๊ะตา  ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส คือผู้ช่วยและแนวร่วมคนสำคัญของการปกป้องนกเงือกในอุทยานแห่งชาติ
บูโด นิมุ มีอดีตเป็นพรานเก็บลูกนกขาย แต่เมื่อมูลนิธิเข้าไปให้ความรู้ของความสำคัญนกเงือกต่อผืนป่า ชายชราได้เลิกอาชีพพรานอย่างเด็ดขาดและหันมาเป็นแกนนำสำคัญระดับชาวบ้านในการอนุรักษ์นกเงือก

“แต่ก่อนไม่รู้ว่านกเงือกสำคัญอย่างไรกับป่าไปจับทุกปีในเดือนมิ.ย. เป็นอาชีพเสริมมีคนมาซื้อที่หมู่บ้านเขาให้ตัวละ 4,000-5,000 บาท บอกเอาไปเลี้ยงในสวนสัตว์ จน อ.พิไลไปเล่าให้ฟังจึงเข้าใจ บอกเด็กและชาวบ้านห้ามไปเก็บลูกนกมาขายเราต้องช่วยกันอนุรักษ์ ๆ ไว้”

นิมุ บอกเล่าและว่าแม้ชาวบ้านที่นี่จะช่วยกันอนุรักษ์นกเงือกแต่บ่อยครั้งที่ได้ข่าวว่ามีคนข้างนอกต้องการลูกนกไปส่งยังสวนสัตว์

ปรีดา เทียนส่งรัศมี เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ ที่ฝังตัวในพื้นที่มานับ 10 ปี กล่าวว่า แนวร่วมอย่างนิมุช่วยเกื้อหนุนในการทำงานอนุรักษ์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้ใหญ่ในชุมชนเมื่อบอกกล่าวอะไรกับชาวบ้านจะมีคนเชื่อฟัง แม้การทำงานด้านอนุรักษ์ในเขตพื้นที่ความไม่สงบ แต่ไม่ใช่อุปสรรคการทำงานที่มากนักเพราะเราได้คลุกคลีกับชาวบ้านมาหลายสิบปี ชาวบ้านจะเป็นหูเป็นตาเมื่ออยู่ในช่วงอันตรายแจ้งให้เจ้าหน้าที่รู้ล่วงหน้า

“นกเงือกในพื้นที่ป่าในภาคใต้บางแห่งมูลนิธิยังไม่มีโอกาสเข้าไปเก็บข้อมูล หรือทำงานร่วมกับชาวบ้านจนชุมชนเข้มแข็งตัวอย่างตะโล๊ะตา ชาวบ้านรู้ว่าใครจับนกเงือกแจ้ง ตร. ทันที  แต่ในพื้นที่อื่น ๆ เชื่อว่ายังมีการล่าอีก ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐมีภารกิจที่ต้องทำมากการจับกุมจึงไม่ทั่วถึง”

นกเงือกเป็นดัชนีการเพิ่มขึ้นของป่า จากการเก็บข้อมูลตัวอย่างการเพิ่มขึ้นของนกเงือก 138 ตัวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในปีที่ผ่านมา นกเงือกจะปลูกต้นไม้ใน 1 ปี ได้ 2,518 ต้น หรือ 18 ต้นต่อ 1 ตัว จากพฤติกรรมการคายเมล็ดผลไม้ออกมาเมื่อบินไปตามที่ต่าง ๆ ของป่า เมล็ดเหล่านี้ได้ฝนจะงอกเป็นต้นกล้าและเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ในภายภาคหน้าต่อไป.


ที่มา http://www.dailynews.co.th/article/725/13270

ความรักของนกเงือก รักแท้ในป่าทึบ


   
      ช่วงเทศกาลวันแห่งความรัก หนุ่มสาวต่างตื่นเต้นที่จะหาของขวัญของชำร่วย ดอกไม้หลากหลายรูปแบบมอบให้กับคนที่รัก เพื่อเป็นการแสดงถึงความรักความรู้สึกที่มีให้อีกฝ่าย หลายคนถือเอาวันนี้เป็นวันพิเศษที่จะแสดงความรักความห่วงใยมากกว่าปกติที่เป็นอยู่ แต่ใครจะล่วงรู้ได้ว่าความรักนั้นจะยืนยาวไปได้ยาวนานหรือเพียงแค่ชั่วข้ามคืน

ในโลกของธรรมชาติ รักแท้ไม่ต้องรอวันพิเศษ หรือเทศกาลที่เกิดขึ้นปีละครั้ง แต่การแสดงความรักเกิดขึ้นได้ทุกวันทุกเวลา ต่างกันก็เพียงวิธีการของแต่ละสายพันธุ์

นกเงือก นับว่าเป็นนกที่ได้รับขนานนามถึงความรักที่มันมีต่อคู่ของมัน เนื่องจากนกเงือกจะจับคู่แบบผัวเดียว – เมียเดียว โดยนกตัวผู้จะเป็นผู้บินไปหานกตัวเมียที่ถูกใจ และเข้าไปเกี๊ยวพาราสีด้วยการนำอาหารหลากหลายชนิดมาให้กับตัวเมีย เพื่อหวังให้สาวเจ้าถูกใจกับอาหารต่างๆ ที่นำมาให้ จนเมื่อนกตัวเมียยอมรับอาหารจึงเป็นการแสดงได้ว่าตัวเมียนั้นได้ยอมตกลงปลงใจเรียบร้อย

แต่ความรักไม่ได้สร้างกันง่ายๆ นกเงือกทั้งคู่จะต้องเลือกสถานที่ทำรังที่เหมาะสม ซึ่งตัวผู้จะทำหน้าที่หาโพรงที่สัตว์ต่างๆ ได้ทำทิ้งไว้ หรือที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามต้นไม้สูง เมื่อตัวเมียพอใจกับรังตัวผู้นำเสนอตัวเมียจึงยอมให้ผสมพันธุ์ แล้วนกทั้งคู่ก็จะช่วยกันหาเศษใบไม้ใบหญ้ามาสร้างรังเพื่อรอต้อนรับลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลก แล้วหลังจากนั้นก็จะหาเศษดินมาปิดปากรังเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากสัตว์นักล่าต่างๆ รวมทั้งสร้างความอบอุ่นให้กับแม่ลูก

แม่นกเงือกจะคอยกกไข่และให้ความอบอุ่นกับลูกที่ฟักมาอยู่ภายในรังโดยไม่ได้ออกไปไหน ตัวผู้จึงมีหน้าที่ในการออกหาอาการเพื่อนำมาเลี้ยงชีวิตทั้งลูกน้อยและคู่รัก จนกว่าลูกนกจะโตพอบินได้จึงกะเทาะปากโพรงที่สร้างด้วยเศษดินนั้นออกมา  ความรักของนกเงือกจึงเปรียบเสมือนรักแท้ในป่าทึบ เพราะหากวันใดวันหนึ่งที่นกตัวผู้เกิดไม่ออกหาอาหาร หรือตายไป คู่รักของมันที่รออยู่ที่โพรงก็จะยังคงรออยู่อย่างนั้น ไม่มีวันออกไปไหน รอจนหมดเรี่ยวแรงและตายลงไป พร้อมกับลูกนกเคราะห์ร้ายที่ไม่มีโอกาสได้ออกมาพบกับโลกภายนอก

นอกจากความรัก และความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ของนกเงือกแล้ว นกเงือกยังเป็นสัตว์สำคัญที่เป็นตัวแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่มันอาศัยอยู่ เพราะมันจำเป็นจะต้องสร้างรังในโพรงต้นไม้สูง แข็งแรง ในป่าทึบ และด้วยความหลากหลายของการกินอาหาร นกเงือกจึงเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงดุลยภาพต่างๆ ในสังคมป่าเขตร้อนให้คงอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลง นกเงือกอาจมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี แต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 ต้น/สัปดาห์ หากไม้เหล่านี้สามารถเจริญเป็นไม้ใหญ่ได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง 500,000 ต้น

ดังนั้นความรักของนกเงือก จึงไม่ใช่เพียงเพื่อขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนให้กับสายพันธุ์ของมันเองเท่านั้น มันกลับเผื่อแผ่ความรักของมันให้กับป่า ให้กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมัน ซึ่งมนุษย์เราก็ได้รับประโยชน์จากความรักนั้นในทางอ้อมจากความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ


ที่มา: http://www.seub.or.th

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นกเงือก


     

           การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นกเงือก นักท่องเที่ยวที่ต้องการเรียนรู้และอนุรักษ์นกเงือก นกเงือกในปัจุบันนี้ส่วนมากหาดูได้ยากเราควรจะอนุรักษ์และไม่ทำลายเพื่อเราจะได้ท่องเที่ยวอย่างมีความสุขและได้ดูลักษณะนกเงือก และท่องเที่ยวชมไปตามโพรงไม้ที่มันกำลังเลี้ยงดูลูกมันอยู่หรือกำลังออกมาจากโพรงให้เราได้ชมกันนกเงือกเป็นสัตว์ที่ชอบกระโดด แงะลิ้นสั้น จึงกินอาหารโดยจัดอาหารให้อยู่ปลายปากและโยนกลับลงคอไป อาหารของนกเงือกมีทั้งพืชและสัตว์ เช่นผลไทร สุรามมะริด ผลตาเสือ เป็นต้น สัตว์ได้แก่ สัตว์เลือยคลาน แมลงเป็นต้น เนืองจากนกเงือกทำรังในโพรงไม้ใหญ่ และกินอาหารที่ได้ชนิดแบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าหรือ          สัญลักษะณะของป่าดงดิบลักษณะของนกเงือกของ และดัชนี้ชี้ความสมบูรณ์ ของป่าดงดิบจับคู่ทำรัง ตามโพรมไม้ใหญ่ ตัวเมียมักจะกกไข่อยู่ ให้กำเนิดลูกน้อย อยู่ภายในโพรม
          ตัวอยู่ทำหน้าที่ปกป้อง และหาอาหารมารให้จนติบใหญ่ ทั่งงแม่ละลูกใครจะเชือว่า นกในป่าเกิดมารักเดียวใจเดียวตลอดชีวิต นกเงือก (HORNBILL) ทั่วโลกมี ๕๕ ชนิด มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปอาฟริกา และเอเซีย ประเทศไทยมีนกเงือก ๑๓ ชนิด ซึ่งในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งอยู่ใน จังหวัดนครราชสีมา มี ๔ ชนิด ได้แก่ นกกก หรือ นกกะวะหรือ นกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือก กรามช้าง หรือนกกู่กี๋ และนกแก๊ก หรือนกแกง
         นกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ อาจมีความยาว ๑.๕ เมตร เมื่อวัดจากปากถึงปลายหาง ส่วนมากมักจะมีขนสีดำสลับขาว มีลักษณะการทำรังโดยตัวเมียปิดขังตัวเองอยู่ภายในโพรงไม้ นกเงือกมีนิสัยในการทำรังผิดแปลกไปจากนกอื่นใดในโลก คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา
          นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว จะมีการเกี้ยวพาราสี เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะผสมวัสดุเหล่านี้กับมูลของมันเอง เมื่อปิดปากโพรงจึงเหลือเพียงช่องแคบ ๆ ตัวเมียจะขัง ตัวอยู่ภายในเพื่อออกไข่เลี้ยงลูก ตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลตัวเมียและลูกโดยส่งอาหารผ่านทางปากโพรง นกเงือกจะมีส่วนหนังเปลือยเป็น สีฉูดฉาดอยู่บ้าง เช่น บริเวณคอ ขอบตา มีขนตายาว ขาสั้น ชอบกระโดด ลิ้นสั้น จึงกินอาหารโดยจัดอาหารให้อยู่ที่ปลายปากแล้วโยน กลับลงคอไป อาหารของนกเงือกมีทั้งพืชและสัตว์ เช่น ผลไทร สุรามะริด ผลตาเสือ เป็นต้น สัตว์ ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน แมลง เป็นต้น
           เนื่องจากนกเงือกอาศัยทำรังในโพรงไม้ใหญ่ และกินอาหารที่ได้จากผลผลิตในป่า นกเงือกจึงเป็นดัชนีบ่งชี้ความสมบูรณ์ ของป่า หรือสัญลักษณ์ของป่าดงดิบเป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่งในระบบนิเวศ ปัจจุบันการศึกษาวิจัยธรรมชาติมีน้อยมาก การที่มีข้อมูลเรื่อง นกเงือกเป็นอย่างดีทั้งนี้เนื่องจากการ ศึกษาวิจัยอย่างจริงจังของ โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือกนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ อาจมีความยาว ๑.๕ เมตร เมื่อวัดจากปลาย ปากถึงปลายหาง ส่วนมากมักจะมีขนสีดำสลับขาวมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว คือ ปากขนาดใหญ่ ยาวโค้ง มีโหนกอยู่บนส่วนปาก จัดเป็นสัตว์ที่ยังคง ความเป็นอยู่แบบโรราณตามลักษณะการทำรังโดยตัวเมียปิดขังตัวเองอยู่ ภายในโพรงไม้ นกเงือกมีนิสัยในการทำรังผิดแปลกไปจากนกอื่นใดในโลก คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว จะมีการเกี้ยวพาราสี เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรงด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะผสมวัสดุเหล่านี้กับมูลของมันเอง เมื่อปิดปากโพรงจึงเหลือ เพียงช่องแคบ ๆ ตัวเมียจะขังตัวอยู่ภายใน เพื่อออกไข่เลี้ยงลูก ตัวผู้จะทำหน้าที่ ดูแลตัวเมียและลูกโดยส่งอาหารผ่านทางปากโพรง นกเงือกจะมีส่วนหนังเปลือย เป็นสีฉุดฉาดอยู่บ้างอยู่บ้าง เช่น บริเวณคอ ขอบตา มีขนตายาว ขาสั้น ชอบกระโดด ลิ้นสั้น จึงกินอาหารโดยจัดอาหารให้อยู่ที่ปลายปากแล้วโยนกลับลงคอไป อาหารของนกเงือกมีทั้งพืชและสัตว์ เช่น ผลไทร สุรามะริด ผลตาเสือ เป็นต้น สัตว์ ได้แก่ สัตว์เลี้อยคลาน แมลง เป็นต้น นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตาม ต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตานกเงือก หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Hornbill มีอยู่ด้วยกันถึง 54 ชนิดในโลก พบได้ในป่าเขตร้อน ของทวีปอาฟริกาและเอเซียเท่านั้น ในประเทศไทยมีอยู่ถึง 12 ชนิด นกเงือกมีหน้าตาออกจะโบราณ สักหน่อย ไม่มีสีสันสวยงามนัก สีขนมักมีสีดำ-ขาว ที่แปลกออกไปบ้างคือสีน้ำตาล เทา มีขนาดใหญ่ ถึงใหญ่มาก บางชนิดอาจมีขนาดตัวถึง 1.5 เมตร ความกว้างของปีกที่กางออกอาจถึง 2 เมตร เช่น นกกก แต่มีลักษณะที่น่าขันคือ มันมีปากใหญ่ผิดสัดส่วนกับหัว แถมมี โหนก เหนือปากทำให้ดูเกะกะ ลูกตาและทำให้ดูเหมือนว่าเจ้านกเงือกจะต้องคอนโหนกที่ดูหนักอึ้งเกินความจำเป็น ลักษณะของ โหนก หรือ casqued ที่ว่านี้ ลวงตาดูว่าหนักที่จริงโหนกเป็นโพรง ยกเว้นโหนกของนกชนหิน ( Helmeted Hornbill )   ที่ตันดุจเดียวกับงาช้าง เจ้าโหนกของนกเงือกนี้จะช่วยเราจำแนกชนิดนกกก บ้างก็มีรูปทรงกระบอกทอดนอนตามความยาวของจงอยปากดูคล้ายกล้วยหอม แต่มีปลายงอนขึ้น เช่น โหนกของนกเงือกหัวแรด บ้างก็มีโหนกขนาดเล็กเป็นหยักเป็นลอนดูคล้ายกรามช้าง เช่น นกเงือกกรามช้าง ที่ไม่มีโหนกก็มีเช่น นกเงือกคอแดง
            นกเงือกจะมีส่วนหนังเปลือยเป็นสีฉูดฉาดอยู่บ้าง เช่น หนังบริเวณคอ ขอบตา เป็นต้น มีขนตายาวงาม ขาสั้น ชอบกระโดด ลิ้นสั้นจึงกินอาหารโดยจัดอาหารอยู่ที่ส่วนปลายปากแล้วโยนกลับลงคอไปปกตินกเงือกจัดได้ว่ากินอาหารทั้งผลไม้และสัตว์เล็ก ๆ แต่ผลไม้พวก ไทร ดูจะเป็นอาหารหลักของนกเงือกเอเซีย
            นอกจากเสียงร้องดังแล้ว นกเงือกเป็นนกที่บินเสียงดังมากโดยเฉพาะนกเงือกขนาดใหญ่ เสียงดังนี้เกิดจากที่อากาศผ่านช่องว่างระหว่างโคนขนปีกเนื่องจากนกเงือกไม่มีขนคลุมด้านใต้ของปีก เมื่อกระพือปีกแต่ละครั้งจึงเกิดเสียงดังราวกับรถจักรไอน้ำ และหากนกเงือกขนาดใหญ่บินมาเป็นฝูงจะทำให้เกิดเสียงดังราวพายุ
          อุปนิสัยในการทำรังของนกเงือกเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัวของนกในวงศ์นี้ ( Bucerotidae) คือทำรังในโพรงไม้ แต่มันจะไม่สามารถเจาะรังได้เองอย่างนกหัวขวาน แต่จะเสาะหาโพรงที่มีอยู่โดยธรรมชาติหรือที่มีสัตว์อื่นทำให้เกิดขึ้น ที่แปลกคือไม่เพียงแต่เข้าไปอยู่ในโพรงนกเงือกตัวเมียยังปิดปากโพรงเสียด้วยวัสดุต่าง ๆ อันได้แก่ มูลของมันเอง เศษไม้ ดิน เป็นต้น ผสมกันพอกปากโพรงให้เล็กลงจนเหลือเพียงช่องแคบ ๆ เพียงพอที่พ่อนกจะส่งอาหารผ่านด้วยจงอยปาก นกเงือกตัวเมือจะออกไข่ ฟักไข่ และเลี้ยงลูกอยู่ภายในโพรงจนกว่าลูกนกจะโตพอที่จะบินได้จึงจะกระเทาะปากโพรงออกมา ซึ่งกินเวลาประมาณ 3-4 เดือน
           ชีวิตรักของนกเงือกเริ่มต้นราวกลางเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ เราจะเห็นนกเงือกอยู่กันเป็นคู่ส่วนใหญ่แล้วตัวผู้จะเสาะหารัง ตัวเมียจะคอยติดตามไปดูด้วยและตัดสินใจว่าพอใจโพรงนี้รึเปล่า เพราะตนจะต้องอยู่ในโพรงนี้อีกหลายเดือน
            โพรงรังของนกเงือกซึ่งศึกษาที่เขาใหญ่จะพบในต้นไม้ตระกูลยางมากที่สุด โดยขนาดของต้นไม้ที่มีโพรงใหญ่พอ หากวัดที่ระดับความสูงของหน้าอกคนวัดเส้นผ่าศูนย์กลางตกราว ๆ 1 เมตร ปากโพนงจะต้องไม้ใหญ่หรือเล็กเกินไปขนาดพอดีๆ ก็ตกราว 20*12 ซม.ความสูงของเพดานรังกว่า 1 เมตรขึ้นไปพื้นโพรงรังต้องไม่ลึกต่ำกว่าขอบประตูล่างมากนัก ความกว้างภายในโพรงใหญ่พอก็ประมาณ 50*40 ซม. โดยปกตินกเงือกจะใช้โพรงปีแล้วปีเล่าหากโพรงนั้นยังเหมาะสมอยู่ ตัวผู้จะเชิญชวนตัวเมียให้เข้าไปดูรังด้วยการโผบินไปเกาะปากโพรง แล้วยื่นหัวเข้าไปสำรวจภายใน บินเข้าออกหลายครั้ง ขณะเดียวกันก็เกี้ยวพาราสีกันด้วย ตัวผู้จะกระแซเข้าใกล้ตัวเมียและพยายามป้อนอาหารซึ่งได้แก่ ผลไม้ให้ตัวเมียบางคู่อาจใช้เวลานานหลายวันกว่าตัวเมียจะสนใจและยอมบิน เข้ามาดูรัง
           เมื่อคิดว่าได้โพรงที่เหมาะเป็นที่ถูกใจแล้ว ตัวเมียจะเริ่มงานทันที ถ้าปากโพรงแคบไปเนื่องจากการเจริญเติบโตของต้นไม้นกจะเจาะปากโพรงให้กว้างอีกเล็กน้อย กระเทาะวัสดุปิดรังเก่า ๆออก แล้วจะมุดเข้าไปในโพรง จากนั้นตัวเมียจะทำความสะอาดภายในโพรงโดยการคาบเศษเมล็ดผลไม้เก่า ๆ เศษขนของปีก่อนโยนทิ้ง แล้วเริ่มปิดปากโพรงเสียใหม่ วัสดุที่หาได้จะถูกผสมกับมูลของตัวเมียรวมทั้งอาหารที่สำรอกออกมาแล้วพอกลงบนปากโพรงที่เปรียบเหมือนประตู โดยใช้จงอยปากด้านข้างตีให้ติดกัน เมื่อวัสดุนี้แห้งจะแข็งและเหนียวมาก ตัวผู้อาจช่วยหาวัสดุเช่นดิน หรือ เปลือกไม้มาให้ แล้วแต่ชนิดของนกเงือกว่าชอบประตูที่ทำด้วยวัสดุอะไร เช่น นกกกใช้เปลือกไม้ เศษไม้ผุ ๆ เศษอาหารแต่ไม่ใช้ดินเลย ตรงข้ามนกแก๊กจะใช้ดินเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ตัวผู้จะคอยเฝ้าเป็นเพื่อนอยู่ข้างนอกเกือบตลอดเวลา และคอยป้อนอาหารหลังจากตัวเมียเสร็จงานปิดโพรงในแต่ละวัน บางคู่จะส่งเสียงเบา ๆ ราวกับปลอบประโลมให้ตัวเมียอุ่นใจ และเมื่อหากตัวผู้แวบหายไปชั่วคู่ชั่วยาม ตัวเมียจะละงานปิดโพรงตามไปทันที่ ตัวผู้จะต้องพากลับมาที่โพรงอีก จะใช้เวลาปิดปากโพรงอยู่ราว 3-7 วัน
           เมื่อตัวเมียขังตัวเองอยู่ภายในโพรงเรียบร้อยแล้ว ตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลอย่างเคร่งครัดน่ายกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่งนับเป็นเยี่ยงอย่างที่ดี ในระยะแรกๆ ในการทำรังคือช่วงตัวเมียฟักไข่ การป้อนอาหารจะไม่บ่อยนัก ราววันละ 2-3 ครั้ง อาหารส่วนมากจะเป็นพวกผลไม้ ระยะนี้ตัวผู้พอมีเวลาให้ตัวเองบ้างก็จะแต่งตัวให้หล่ออยู่เสมอ ส่วนตัวเมียก็จะถือโอกาสนี้ผลัดขนเสียใหม่
           เมื่อเวลาผ่านไปราว 5-7 สัปดาห์ ลูกนกจะฟักออกเป็นตัว ตัวผู้ต้องรับภาระหนักมาก พ่อนกจะเริ่มหน้าที่ของตนตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนหลังพระอาทิตย์ตก การป้อนอาหารจะถี่ขึ้นเรื่อยๆ วันละ 10 ครั้ง หรือกว่านั้นชนิดอาหารที่นำมาป้อนจะมีความหลากหลายมากขึ้น มีผลไม้ป่าอื่นๆ นอกจากไทร เช่น ส้มโมง สุรามะริด กำลังเลือดม้า ตาเสือเล็ก ตาเสือใหญ่ หว้ามะหาดขี้ตุ่น ยางโดน มะเกิ้ม พิพวนป่า มะขามแป พญาไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องหาอาหารเสริมโปรตีนมาเลี้ยงลูกเช่น แมลงนานาชนิด สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู กิ้งก่า ปลา ปู กบ เขียด กิ้งกือ ไส้เดือน นก ไข่และลูกนก หนู กระรอก ค้างคาว เป็นต้น การอาหารต้องไปตามแหล่งผลไม้สุก สำรวจตามโพรงไม้เพื่อหาสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโพรง เช่นกระรอกบินหากจับได้ก็จะนำมาเป็นอาหารให้ลูกนก อาจกระเทาะเปลือกไม้เพื่อหาตัวหนอน โบยบินเพื่อจับแมลงในอากาศ ลงพื้นดินและริมน้ำเพื่อจับปลา ปู หาไส้เดือน งูดิน เป็นต้น ต้องใช้กำลังงานไปมากช่วงนี้จะดูพ่อนกโทรมมาก
           นกเงือกเป็นนกที่สะอาดสะอ้าน ทั้งแม่และลูกจะถ่ายมูลผ่านช่องแคบๆนี้ ลูกนกจะไม่สามารถถ่ายมูลให้พุ่งพ้นปากโพรงจึงตกอยู่แค่ปากโพรง เมื่อพ่อนกป้อนอาหารเสร็จในแต่ละครั้งจะคาบเอามูลของลูกมันทิ้ง จากพฤติกรรมนี้เราสามารถจะทำนายได้ว่ารังใดมีลูกนกฟักเป็นตัวแล้ว อาหารพวกที่เป็นผลไม้ที่มีเมล็ดในแข็งนกเงือกจะสำรอกทิ้งออกมาภายนอกโพรง เราจึงพบว่าที่โคนต้นไม้ที่เป็นรังนกจะเต็มไปด้วยมูลนกและเมล็ดผลไม้นานาชนิด ซึ่งจะงอกเป็นต้นกล้าเต็มไปหมด
          การเลี้ยงลูกนกเงือกพ่อนกจะส่งอาหารผ่านแม่นก แม่นกจะมีส่วนในการกำหนดเมนูสำหรับลูกนก บางคราวพ่อนกนำผลไม้บางชนิดมาป้อนซ้ำๆ แม่นกจะปฏิเสธไม่ยอมรับ ถ้าพ่อนกยังตื้อที่ป้อนต่อไป แม่นกจะรับมาโยนทิ้งไปต่อหน้าต่อตา ก็เป็นสัญญาณเตือนพ่อนกว่าจะต้องเปลี่ยนอาหารแแล้วมิฉะนั้นจะเหนื่อยเปล่าเพราะแม่เจ้าประคุณโยนทิ่งอย่างไร้เยื่อใย ทั้ง ๆ ที่พ่อนกนั้นเวลาป้อนอาหารแต่ละทีก็แสนจะอ่อนโยน พ่อนกจะสำรอกอาหารออกมาคราวละหนึ่ง แล้วบรรจงป้อนให้แม่นกชนิดปากต่อปากจนกว่าแม่นกจะรับไปจะไม่มีการสำรอกไว้ในโพรงแล้วปล่อยให้เก็บกินเอง และไม่มีการผิดพลาดโดยป้อนผลไม้ที่ตัวเองกินเนื้อแล้วเป็นอันขาด หากเป็นอาหารประเภทสัตว์ก็จะฆ่าเสียให้ตายก่อนโดยฟาด   กับกิ่งไม้หรือกัดย้ำด้วยจงอยปากแล้วป้อน
             เมื่อเวลาล่วงเข้าประมาณสัปดาห์ที่ 10 ถึง 15 พ่อนกจะเริ่มลดอาหารลง ก็แสดงว่าใกล้เวลาอันสมควรที่ ลูกนกและแม่นกจะออกจากโพรงเสียทีเมื่ออกจากโพรงแล้วลูกนกจะบินได้เกือบทันทีเพราะซ้อมกระพือปีกไว้บ้างแล้ว ขณะอยู่ในโพรง พ่อแม่นกจะคอยดูแลโดยป้อนอาหารและสอนร่อนไปในหมู่ไม้ให้ลูกนกอีกราว 5-6 เดือน หรือ จนกว่าฤดูทำรังใหม่จะใกล้เข้ามา ก็เป็นอันว่าลูกนกบรรลุนิติภาวะที่จะหากินดูแลตัวเองได้
           นกเงือกจัดว่ามีศัตรูน้อยแต่ที่สำคัญเห็นจะเป็น หมาไม้ ซึ่งไต่ไปถึงรัง หากพบว่าปากโพรงเปิดอยู่เนื่องจากแม่นกออกมาก่อน ลูกนกจะตกเป็นเหยื่อของหมาไม้ได้ง่าย อีกา ก็เป็นศัตรูที่สำคัญอีกตัวหนึ่งที่มักจะคอยจิกตีลูกนกที่เพิ่งออกจากโพรง
          เมื่อเข้าฤดูฝนก็หมดช่วงทำรัง นกเงือกมักจะรวมกันเป็นฝูงใหญ่บ้างเล็กบ้างแล้วแต่ชนิดนกเงือก นกเงือก กรามช้างดูจะรวมฝูงกันมากที่สุดบาง คราวอาจรวมกันมากถึง 1000 ตัว ไปหากิน และนอนตามหุบเขาลึก
           ด้วยลักษณะการดำรงชีวิตดังกล่าวมาแล้ว นกเงือกจึงมีบทบาทที่สำคัญในระบบนิเวศของป่าดงดิบ นั่นคือช่วยกระจายพันธุ์พืชโดยการสำรอกเมล็ดผลไม้ทิ้งหรือถ่ายเมล็ด ออกมา ชีวิตของนกเงือกต้องขึ้นอยู่กับป่าที่สมบูรณ์ มีต้นไม้ใหญ่ ที่มีโพรงให้ทำรัง มีแหล่งอาหารที่เพียงพอ จึงอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าได้
          เนื่องจากสถานการณ์ของป่าไม้บ้านเราลดน้อยลงไปทุกที่ ประกอบกับการที่นกถูกล่า เพื่อนำมาเลี้ยงหรือนำมาใช้ทำเครื่องประดับ ทำให้โอกาสที่นกเงือกจะสืบทอดพันธุ์ต่อไปให้คนรุ่นหลังๆ ได้ชื่นชมเห็นที่จะเลือนลาง ถ้าทุกฝ่ายรวมทั้งพวกเรา ยังหลงฟุ้งเฟ้อกับการพัฒนาประเทศโดยปราศจากการวางแผนที่รอบคอบ จริงจัง จริงใจ และโปร่งใส มรดกไทยที่ธรรมชาติได้สั่งสมมาช้านาน ไม่จำเพาะแต่นกเงือกเท่านั้น คงถึงกาลอวสานเป็นแน่แท้


ที่มา: http://webboard.thai-tour.com/view_topic.php?id_topic=438

แหล่งที่พบนกเงือกในประเทศไทย


นกกก, นกกาฮัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name):  Buceros bicornis

ชื่อสามัญ (Common name): Great Hornbill

เป็นนกเงือกขนาด ใหญ่มากขนาดตัวราว 122 ซม. สีเหลืองบนปากและโหนกเกิดจากสีของน้ำมันจากต่อมโคนหางที่นกทาเอง ตัวผู้ตาแดง ตัวเมียตาขาว อาหารของนกกก ได้แก่ ผลไม้ป่าต่าง ๆ โดยเฉพาะ ลูกไทร และสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น หนู งู นก แมลง ฯลฯ ตัวเมียจะกระเทะปากโพรงออกมาช่วยตัวผู้เลี้ยงลูก เมื่อลูกนกออกจากไข่ ราว 1 เดือน เลี้ยงลูก 1 ตัวเท่านั้น พบได้ตามป่าใหญ่ ๆ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

     
     นกแก๊ก, นกแกง

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anthracoceros albirostris

ชื่อสามัญ (Common name): Oriental Pied Hornbill

เป็นนกสีดำขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับนกเงือกสีน้ำตาล คือราว 70 ซม. ปากและโหนกสีงาช้าง ตัวผู้มีโหนกยาวทรงกระบอกทอดตามความยาวของปากมีสีดำ แต้มตรงส่วนหน้า ตัวเมียโหนก เล็กกว่าและมีสีดำเปรอะ ทั้งโหนกและปากอาหารมีทั้งผลไม้และสัตว์เล็ก ๆ ลง หากินตามพื้นดินด้วย มักพบอยู่ตามชายป่า เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่


                                                                                                                                 
  นกเงือกกรามช้าง, กู๋กี๋

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros undulatus

ชื่อสามัญ (Common name): Wreathed Hornbill

ขนาดตัว ราว 130 ซม. มีโหนกเป็นลอนหยัก ซึ่งจำนวนลอนบ่งบอกอายุของนก1 ปีต่อ 1 ลอน แต่ก็บอกไม่ได้ตลอดชั่วอายุของนก ปากด้านข้าง เป็นรอยสัน นกกู๋กี๋ตัวผู้มีถุงใต้คอสีเหลืองขีดดำสองข้าง ตัวเมียมีถุงสีฟ้าตัวดำปลอด หางขาว เป็นนกที่บินได้ไกล มาก กินผลไม้เป็นส่วนใหญ่ ตัวผู้หาเลี้ยงตัวเมียและลูก 1 ตัว ซึ่งอยู่ภายในโพรงไม้ตลอดเวลาประมาณ 4 เดือน เคยพบ กระจายเช่นเดียวกับนก กก เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

                                                                                                                                                     
     
นกเงือกกรามช้างปากเรียบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros subruficollis

ชื่อสามัญ (Common name): Plain-pouched Hornbill

(Rhyticeros ) รูปร่างหน้าตานิสัยเหมือนนกกู๋กี๋ หรือ นกเงือกกรามช้าง มีขนาดย่อมกว่า และต่างกันตรงที่ปากด้านข้างเรียบ ถุงใต้คอไม่มีขีดดำทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นนกเงือกที่ใกล้สูญพันธุ์ พบบริเวณ ผืนป่าตะวันตกติดกับประเทศพม่า (Myanmar) เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง


     
   นกเงือกปากย่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros corrugatus

ชื่อสามัญ (Common name): Wrinkled Hornbill
คล้าย นกกู๋กี๋แต่ขนาดย่อมกว่า โคนหางสีดำ ส่วนปลายกว่าครึ่งความยาวหางมีสีขาว ตัวผู้มีโหนกสูงแต่ไม่หนา ด้านข้างของปากล่างเป็นรอยย่น ถุงใต้คอสีฟ้าซีด ๆ เป็นนกเหงือกที่อยู่ป่าที่ราบต่ำ ซึ่งถูกทำลายเกือบหมดสิ้น เคยพบอยู่ทางภาคใต้ นกเงือกปากย่นเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย พบนกเงือกชนิดนี้ได้ที่ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)



     
    นกเงือกคอแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros nipalensis

ชื่อสามัญ (Common name): Rufous-necked Hornbill

มีขนาดใกล้เคียงกับนกเงือกปากย่น ตัวผู้มีสีสรรสวยงามแต่ไม่มีโหนก ปากสีเหลืองอ่อน อมเขียว ปากบนมีรอยขีดสีดำ ถุงใต้คอสีแสดทั้งสองเพศ ตัวเมียสีดำปลอด เป็นนกเงือกที่พบอยู่ป่าสูง และอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ พบนกเงือกชนิดนี้ได้ทางตะวันตกและ ตะวันตกเฉียงเหนือ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง



     
นกเงือกสีน้ำตาล (Tickell's)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anorrhinus tickelli

ชื่อสามัญ (Common name): Tickell's Brown Hornbill

ขนาดเล็กกว่า นกเงือกปากดำ และมีนิสัยคล้ายคลึงกัน แตกต่างจากนกเงือกสีน้ำตาล (Austen's) ตรงที่คอมีสีน้ำตาลแดง ทำรังแบบมีผู้ช่วยแต่ผู้ช่วยจะเป็นตัวผู้ทั้งหมด และไปกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวกแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้ เลี้ยงลูกได้มากที่สุดถึง 3 ตัว เป็นนกที่ อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ พบนกเงือกชนิดนี้ ได้ทางภาคเหนือ ตะวันตกและภาคกลาง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นต้น



     
       นกเงือกหัวหงอก

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros comatus

ชื่อสามัญ (Common name): White-crowned Hornbill

เป็นนกเงือกสีดำขาว ขนาดใกล้เคียงกับนกเงือกกรามช้าง หัวมีหงอนสีขาว ปากและโหนกสีดำ มักพบอยู่กันเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินระดับใต้เรือนยอดไม้ อาหารได้แก่ ผลไม้ป่า พบตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรี ลงไปทางใต้ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เป็นนกเงือกที่ใกล้สูญพันธุ์



     
        นกเงือกหัวแรด

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Buceros rhinoceros

ชื่อสามัญ (Common name): Rhinoceros Hornbill

มีรูปร่างและอุปนิสัย คล้ายคลึงกับนกกกทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีหัวและคอดำ โหนกของนกเงือกหัวแรดโค้งงอนขึ้นสีแดง ปากสีเหลือง ก็ทาด้วยน้ำมัน เช่นเดียวกับนกกก หางขาว มีแถบดำ นกเงือกหัวแรดใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย พบแต่ทางภาคใต้



     
    นกชนหิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Rhinoplax vigil

ชื่อสามัญ (Common name): Helmeted Hornbill

เป็นนกเงือกชนิดเดียวที่โหนกตันเหมือนงาช้าง มีสีแดงเข้ม จงอยปากตรงสั้น เป็นนเงือกชนิดเดียวที่ขนหางยาวเป็นกรวย 1 คู่ ตัวผู้มีคอเป็นหนังเปลือยย่นสีแดงเข้ม ส่วนตัวเมียมีสีฟ้าซีดๆ พบนกชนิดนี้ทางภาคใต้ มักพบอยู่โดดเดี่ยว หรือ เป็นคู่   มักเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ในระดับสูง และ ค่อนข้างตื่นคน ปกติจะอาศัย หากินอยู่ในระดับเรือนยอดของต้นไม้  ตัวผู้จะร้องติดกันดัง ตุ๊ก ...ตุ๊ก ...  ทอดเป็นจังหวะ   ร้องติดกันยาว  เสียงร้องจะ กระชั้นขึ้นเป็นลำดับ   เมื่อสุดเสียง   จะคล้ายเสียงหัวเราะ  ประมาณ 4 - 5 ครั้ง   เมื่อตกใจ จะแผดเสียงสูงคล้ายแตร เหตุที่นกเงือกชนิดนี้ได้ชื่อว่า  ชนหิน  เป็นเพราะเวลามันทะเลาะแย่งอาณาบริเวณกัน  มันจะบินเอาหัวโขกกัน  มีเสียงดังคล้ายกินกระทบกัน   บางครั้ง นกชนหินบินเอาหัวชนกันกลางอากาศ



       
   นกเงือกปากดำ, กาเขา

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anorrhinus galeritus

ชื่อสามัญ (Common name): Bushy-crested Hornbill

มีขนาดเล็กกว่า นกเงือกหัวหงอก ลำตัวสีดำปลอด หางมีสีน้ำตาลอ่อนและดำ ตัวผู้มีปากและโหนกดำปลอด ตัวเมียปากมีสีเหลืองอ่อน และดำ หากินเป็นฝูงเล็ก ๆ เมื่อทำรังตัวผู้จะมีผู้ช่วยมาช่วยป้อนอาหารแก่แม่นก และลูกนกในโพรง อาหารได้แก่ ผลไม้ สัตว์เล็ก ๆ และแมลง พบมากทางภาคใต้ เช่น อุทยานแห่งชาติศรีพังงา



     
   นกเงือกดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anthracoceros malayanus

ชื่อสามัญ (Common name): Black Hornbill

ตัวผู้มีปากและโหนกสีงาช้าง ส่วนตัวเมียปากดำ นกเงือกดำอาจมีพันธุ์ที่มีคิ้วขาวได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ลักษณะอื่น ๆ คล้ายนกแก๊ก แต่ขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย อุปนิสัยคล้ายคลึงกับนกแก๊ก กินอาหารทุกอย่าง เป็นนกที่พบในป่าที่ราบต่ำ ซึ่งถูกทำลายเกือบ หมดสิ้น และเป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย พบแต่ทางภาคใต้ เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาประ-บางคราม



ที่มา: http://kularbly.igetweb.com/index.php?mo=3&art=437911

วันรักนกเงือก


     ทุกวันที่ 13 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็น "วันรักนกเงือก"

        นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่ ส่วนมากมักจะมีขนสีดำสลับขาว ทั่วโลกมี 55 ชนิด มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปอัฟริกา และเอเชีย นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวอยู่ภายในเพื่อออกไข่เลี้ยงลูก  

       ปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 50 กว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยเฉพาะผืนป่าตะวันตก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งรวมแล้วมีนกเงือกประมาณ 3,000 ตัว

ที่มา: http://www.seub.or.th





ที่มา :http://www.youtube.com/watch?v=ta4mWxJlrzA