วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นกเงือก thailand



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=V4zf1K3deL4

สภาพอากาศแปรปรวนภัยคุกคามนกเงือกไทย


สภาพอากาศที่แห้งแล้งผิดปกติเกิดขึ้นในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี เมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ลูกนกเงือกลืมตาขึ้นมาดูโลกลดลงจนเห็นได้ชัดจากงานวิจัยของมูลนิธิ ศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีการรายงานสถานการณ์นกเงือกไทย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วันรักนกเงือก ณ บริเวณสวนนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล
ผศ.ดร.วิจักขณ์ ฉิมโฉม เลขาธิการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก สันนิษฐานว่า สถานการณ์นี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปีที่แห้งแล้งได้ส่งผลให้เมล็ดไม้หรือผลไม้ในป่าอาหารของนกเงือกลดน้อยลง ทั้งตาเสือ ยางโอน และไทร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการขยายพันธุ์นกเงือก หากสภาพแวดล้อมไม่พร้อม อาหารไม่พร้อม นกเงือกตัวเมียจะไม่เข้าทำรัง ซึ่งฤดูผสมพันธุ์ของนกเงือกเริ่มตั้งแต่กุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนของแต่ละปี หรืออาจเกิดปัจจัยวัฏจักรธรรมชาติจะมีปีที่ผลไม้ดกและปีที่ไม่ออกดอกออกผล แม้งานวิจัยนี้ไม่ได้ติดตามเรื่องโลกร้อนโดยตรง แต่ที่เขาใหญ่ทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก เรามีพื้นที่ศึกษาการออกดอกและผลของต้นไม้ อาหารของนกเงือก จากรายงานพบสภาพอากาศแห้งแล้งลงและปริมาณฝนลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นไม้ไม่สมบูรณ์ แม้ปีที่แล้วฝนตกหนักเกิดมหาอุทกภัยใหญ่ในไทย แต่ในป่าไม่มีผล
และเมื่อมาดูสรุปงานวิจัยนั้น นกเงือกในอุทยานฯ เขาใหญ่ พบ 4 ชนิด คือ นกกก นกเงือกกรามช้าง นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว และนกแก๊ก จากการวิจัยและอนุรักษ์ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน รวม 30 ปี พบต้นไม้ที่เป็นโพรงรังนกเงือกทั้งหมด 283 ต้น เป็นโพรงที่นกใช้ได้ 199 โพรง ประมาณ 70% มีลูกนกเงือกออกสู่ธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 1,867 ตัว เฉพาะปี 2554 ได้ลูกนกเงือก 138 ตัว ซึ่งกล่าวได้ว่าจำนวนประชากรนกเงือกอยู่ในระดับที่อุ่นใจได้
แต่หากติดตามสถานภาพนกเงือกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี พบนกเงือก 6 ชนิด คือ นกกก นกเงือกคอแดง นกเงือกกรามช้าง นกเงือกกรามช้างปากเรียบ นกเงือกสีน้ำตาล และนกแก๊ก พบต้นไม้ที่เป็นโพรงรังทั้งหมด 228 ต้น เป็นโพรงที่นกเงือกใช้ได้ 115 โพรงรัง มีลูกนกออกสู่ธรรมชาติ 511 ตัวแล้ว แต่ที่น่ากังวลปีที่ผ่านมา ได้ลูกนกเงือก 67 ตัว เท่านั้น จากปีปกติ 100 ตัว
"ปริมาณทำรังลดลงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นกเงือกสีน้ำตาลไม่เข้าทำรังเลย จำนวนลูกนกที่น้อยลงไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าหรือถูกล่า เพราะเป็นพื้นที่ใจกลางป่าอนุรักษ์ คาดว่าเกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง "      
ส่วนนกเงือกในอุทยานฯ บูโด-สุไหงปาดี จ.นราธิวาส มีนกเงือก 6 ชนิด คือ นกกก นกเงือกหัวแรด นกเงือกกรามช้าง นกเงือกหัวหงอก นกชนหิน และนกเงือกปากดำ ที่นี่ได้ทำงานวิจัยมา 18 ปีแล้ว พบต้นไม้โพรงรังนกทั้งหมด 192 ต้น และเป็นโพรงที่ใช้ได้ 120 โพรง มีลูกนกเงือกออกสู่ธรรมชาติ 536 ตัว เฉพาะปี 2554 ได้ลูกนกเงือก 16 ตัว ซึ่งในมุมมองของนักอนุรักษ์นกเงือกผู้นี้เห็นว่า เป็นจำนวนที่ไม่น้อยเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ป่าแสนกว่าไร่
อาจารย์วิจักขณ์กล่าวอีกว่า ที่เทือกเขาบูโดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานี นราธิวาส และยะลา มีโครงการชุมชนอนุรักษ์นกเงือก เริ่มตั้งแต่ปี 2537 ตอนนี้มีชาวบ้าน 15 คน และดึงกลุ่มคนรุ่นใหม่เพิ่มเข้ามาอีก 6 คน มีหน้าที่ช่วยกันเฝ้าระวังนกเงือก และช่วยนักวิจัยเก็บข้อมูลทางวิชาการ ช่วยกันซ่อมแซมโพรงรัง ติดตั้งโพรงเทียม และสำรวจกล้าไม้พืชอาหารของนกเงือกบนเทือกเขาบูโด
"รอบเทือกเขาบูโดมีชาวบ้านปลูกพืชไร่ ทำสวนผลไม้ สวนยางพารา ซึ่งยังมีการบุกรุกป่าเพื่อทำการเกษตรอาจส่งผลกระทบต่อผืนป่าแหล่งอาศัยของ นกเงือก ทางมูลนิธิเน้นให้ความรู้เรื่องนกเงือก เมื่อตระหนักถึงความสำคัญจะดึงชาวบ้าน อดีตพรานลักลอบขโมยลูกนกเงือก เข้ามาเป็นนักวิจัยผู้ช่วยร่วมอนุรักษ์นกด้วยกัน รวมถึงกระตุ้นจิตสำนึกทั้งเด็กผู้ใหญ่ให้รักษาทรัพยากรในท้องถิ่น อย่างน้อยชะลอให้งานอนุรักษ์สำเร็จและนกเงือกสูญพันธุ์ลดลง ขณะนี้ยังมีตลาดมืดหรือสวนสัตว์ตั้งค่าหัวลูกนกเงือกให้ชาวบ้านจับลูกนกมา ขาย" นักวิจัยผู้เป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนงานช่วย ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ ผู้เริ่มวิจัยนกเงือกเน้นย้ำ
ซึ่งนอกจากชุมชนรอบเทือกเขาบูโดแล้ว ยังทำโครงการเยาวชนอนุรักษ์นกเงือกและป่าถิ่นอาศัย ร่วมกับโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่รอบเขาใหญ่ตะวันออก บรรยายให้ความรู้ จัดค่ายเยาวชน เรียนศิลปะวาดภาพนกเงือก รวมถึงให้เด็กๆ เก็บเมล็ดผลไม้อาหารนกและต้นไม้ที่เป็นโพรงรังมาเพาะกล้า แล้วนำกลับไปปลูกในพื้นที่ กลายเป็นแนวร่วมคนรุ่นใหม่สืบทอดงานอนุรักษ์ แล้วยังมีโครงการอุปการะนกเงือกให้คนเมืองที่อยู่ห่างไกลจากป่าที่ต้องการ อนุรักษ์นกเงือกสมทบทุนร่วมสนับสนุนชาวบ้านบูโดที่ดูแลนกเงือก
นิมุ รายอคารี ชาวบ้านบูโดวัย 66 ปี จากหมู่บ้านตะโละตา อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ในฐานะผู้นำชุมชนอนุรักษ์นกเงือก และอดีตพรานจับลูกนกไปขาย ซึ่งเดินทางไกลจากทางใต้มาร่วมในงานวันรักนกเงือก บอกว่า เคยจับลูกนกจากรังไปขาย เป็นรายได้เสริม สมัยนั้นตัวละ 500-1,500 บาท นกเงือกหัวแรดราคาดีที่สุด แต่เมื่อมีโครงการวิจัยและอนุรักษ์นกเงือกเข้ามา แรกๆ ไม่เชื่อ เพราะไม่รู้ว่านกเงือกสำคัญยังไง หลังจากนั้น ได้ความรู้ และอาจารย์พิไลชวนให้มาช่วยเก็บข้อมูล ตนก็ชวนชาวบ้านอีก 9 หมู่บ้าน เข้ามาร่วมกัน มีลูกนกออกสู่ธรรมชาติมากกว่า 20 ตัวแล้ว ที่นี่ประกาศห้ามจับลูกนก คอยระวังในพื้นที่ ตั้งใจอนุรักษ์นกเงือกให้อยู่ชั่วลูกชั่วหลาน
ในงานวิจัยอนุรักษ์นกเงือกไทยนี้รวมถึงการติดเครื่องส่งสัญญาณวิทยุติดตาม ตัวสัตว์ผ่านดาวเทียม หรือ PTTs ที่ทำให้ติดตามพื้นที่หากินของนกเงือกได้กว้างไกลมากขึ้น อ.วิจักขณ์ ระบุว่า นกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่และกินผลไม้ป่าเป็นหลัก การติด PTTs ทำให้รู้พื้นที่สำคัญที่นกเงือกใช้ ทั้งแหล่งอาหารและแหล่งที่นอน จากการศึกษาในพื้นที่มรดกโลกทั้ง 2 แห่ง พบว่า นกเงือกคอแดง ป่าห้วยขาแข้ง มีขนาดพื้นที่อาศัยตลอดปี 349 ตารางกิโลเมตร สื่อถึงพฤติกรรมหากินเคลื่อนที่ตลอด ส่วนเขาใหญ่ก็ได้ข้อมูลใหม่ นกเงือกกรามช้าง พื้นที่หากินกว้างไกลถึง 883 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมไปถึงอุทยานฯ ทับลาน ขณะที่นกกกมีพื้นที่อาศัย 184- 619 ตารางกิโลเมตร นกเงือกทั้งสองชนิดอาศัยอยู่ที่ความสูง 20-1,340 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ครอบคลุมป่าดิบชื้น ดิบแล้ง ดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเบญจพรรณผสมต้นลาน ป่าไผ่ ทุ่งหญ้า และพื้นที่เกษตรกรรม
ในงานวันรักนกเงือกที่ผ่านมา บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้มอบเงินสนับสนุนทุนวิจัย 15,628,000 บาท ให้โครงการวิจัยเพื่อการอนุรักษ์นกเงือกในผืนป่ามรดกโลก (ระยะที่ 3) โดยมี ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ เป็นผู้รับมอบทุน
การติดตามนกเงือกกรามช้างปากเรียบในผืนป่าห้วยขาแข้ง คือ งานวิจัยเร่งด่วนในเฟส 3 นี้ ซึ่งเลขาธิการมูลนิธิคนเดิมกล่าวว่า นอกฤดูผสมพันธุ์ของนกจะหายไปเลย และกลับมาในผืนป่าอีกครั้งเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งการสำรวจและติดตามระยะแรกทำไม่ได้ เพราะอุปกรณ์ไม่มีประสิทธิภาพพอ ตัวนกห่างไป 5-10 กิโลเมตร เครื่องก็รับสัญญาณไม่ได้ ตอนนี้เราวางแผนติดเครื่องส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม นกเงือกกรามช้างปากเรียบ 8 ตัว ในแผนรวมถึงนกกกด้วย เพราะมีประชากรมาก อยากทราบพื้นที่หากินไปมาหาสู่ และวิเคราะห์เรื่องพันธุกรรม ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 2 แสนบาทต่อตัว อายุการใช้งาน 3 ปี
"การอนุรักษ์ป่าเขาใหญ่ถิ่นอาศัยนกเงือกก็อยู่ในแผนงานด้วย คนเมืองที่อยากเห็นนกเงือกบินเป็นฝูงที่นี่มองเห็นได้ชัด แต่ถ้าลึกไปในหุบเขา ซึ่งเป็นแหล่งที่นอน มีนกเงือกหกเจ็ดร้อยตัวพร้อมใจบินเป็นฝูงบนท้องฟ้า" นักอนุรักษ์ให้ภาพสัตว์และธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์
อีกงานอนุรักษ์ในภาคสนามที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การซ่อมแซมและปรับปรุงโพรงรังธรรมชาติ ซึ่งเป็นการจัดการประชากรนกเงือกไม่ให้สูญพันธุ์ เลขาธิการมูลนิธิฯ ระบุว่า ทุกพื้นที่ทำงานอนุรักษ์นกเงือกจะสำรวจโพรงรัง หากพบพื้นโพรงทรุดช่วยกันซ่อม โดย 1 โพรงรัง มีอายุใช้งาน 3-8 ปี ซึ่งพบว่าโพรงเสียทุกปี รวมถึงโพรงรังของสัตว์ชนิดอื่นๆ ก็ปรับปรุงทำปากโพรงสำหรับนกเงือก สำหรับการจัดสร้างโพรงเทียมเหมาะกับพื้นที่ที่ขาดแคลนโพรงรังธรรมชาติและ ต้นไม้ใหญ่ อย่างบูโดก็ได้ใช้โพรงเทียมช่วยนกกกหลายครอบครัวเป็นบ้าน
"แต่ผลการติดตั้งโพรงเทียม 18 โพรง ที่บูโด แม้มีนกเงือกเข้าใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ยังมีข้อจำกัด โพรงเทียมสร้างขึ้นจากไฟเบอร์กลาส ใช้ฉนวนกันความร้อน นกกกหลายครอบครัวเข้าใช้ อาจเพราะนกชนิดนี้ปรับตัวได้ดี แต่นกเงือกหัวแรดเข้าวางไข่ แล้วทิ้งรัง พบไข่ไม่ฟัก ก็ต้องหาสาเหตุ แต่ผลการศึกษาพบว่าโพรงธรรมชาติอุณหภูมิสม่ำเสมอ และควบคุมความชื้นได้ดีกว่า ส่วนโพรงเทียมกลางวันความชื้นต่ำ อุณหภูมิสูง กลางคืนชื้นมาก อุณหภูมิเย็น ไม่คงที่ เป็นงานวิจัยที่ต้องศึกษา และต้องการพลังคนรุ่นใหม่มาสานงานและเจตนารมณ์นี้ ตอนนี้ขาดแคลนนักวิจัยเกี่ยวกับนกเงือก" เลขาธิการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ฝากทิ้งท้าย สะท้อนถึงความจำเป็นในการรักษาป่าไม้และต้นไม้ ถิ่นที่อยู่นก เพราะถึงอย่างไร โพรงไม้ธรรมชาติยังเป็นสิ่งที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ของนกเงือกที่สุดนั่น เอง

ที่มา http://www.iceh.or.th/index.php/activity/60-press-news/110-nok.html

สารานุกรมสิ่งแวดล้อม นกเงือก



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=r9BmgtaWd0M

โครงการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของนกเงือก


ความสำคัญและความน่าสนใจของนกเงือก

นกเงือก (Hornbill) เป็นนกที่มีรูปร่างหน้าตาโบราณ ถือกำเนิดมาไม่น้อยกว่า 45 ล้านปี จัดอยู่ในวงศ์ Bucerotidae มีอยู่ด้วยกัน 52 ชนิดในโลก ซึ่งไม่นับรวม Ground Hornbill 2 ชนิดของแอฟริกา พบได้ในป่า และทุ่งหญ้าเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชียเท่านั้น

ในประเทศไทยมีนกเงือก 13 ชนิด ได้แก่ นกกก (Great Hornbill) นกเงือก กรามช้าง (Wreathed Hornbilll) นก แก๊ก (Oriental Pied Hornbill) นกเงือก สีน้ำตาลคอขาว (White-throated Brown Hornbill) นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros Hornbill) นกชนหิน (Helmeted Hornbill) นกเงือกหัวหงอก (White-crowned Hornbill) นกเงือกปากดำ (Black Hornbill) นกเงือกดำ (Black Hornbill) นกเงือกสีน้ำตาล (Brown Hornbill) นกเงือกปากย่น (Wrinkled Hornbill) นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Plain-pouched Hornbill) และนกเงือกคอแดง (Rufous-necked Hornbill) นกเงือกเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ จึงถูกจัดให้เป็น Flagship species Keystone species และ Umbrella species ของป่าเขตร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นกเงือกมีบทบาทเด่นในระบบนิเวศป่าและหลายชนิดอยู่ในสภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ นกเงือกเป็นตัวช่วยกระจายพันธุ์ไม้ (Seed disperser) ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากพฤติกรรมการเลือกกินผลไม้สุก และนำพาเมล็ดไปทิ้งในพื้นที่ต่างๆ ที่นกเงือกบินไปหากินในแต่ละวัน จากการวิจัยพบว่านกเงือกกินผลไม้ได้มากกว่า 300 ชนิด 100 สกุล 40 วงศ์ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีขนาดผลใหญ่กว่า 1.5 ซม ซึ่งนกขนาดเล็กไม่สามารถช่วยกระจายเมล็ดได้ จึงต้องอาศัยนกเงือกเป็นกำลังสำคัญ นกเงือกจึงช่วยรักษาความหลากหลายของพืช โดยเป็นผู้ล่าที่สำคัญของระบบนิเวศป่า ช่วยควบคุมประชากรสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงและหนู เป็นต้น จากความสัมพันธ์ของนกเงือกกับระบบนิเวศป่าสมบูรณ์ในแง่ต่างๆ ทำให้นกเงือกมีความอ่อนไหวต่อพื้นที่ป่าที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจัดนกเงือกเป็น Indicator species ของป่าแต่ละแบบได้อีกด้วย หากนกเงือกมีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ไป จากพื้นที่ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกหลายชนิดอาจสูญพันธุ์ตามไปด้วย โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ที่เป็นอาหารของนกเงือก

ลักษณะเด่นของนกเงือก
                                                                   
นกเงือกมีลักษณะที่สำคัญ คือ มีปากขนาดใหญ่โค้ง มี โหนก (Casque) ประดับเหนือปาก ยกเว้นนกเงือกคอแดง (Rufous-necked Hornbill) ที่ไม่มีโหนก ลักษณะของโหนกเป็น โพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำอยู่ภายใน แต่โหนกของนกชนหิน (Helmeted Hornbill) นั้นกว่าครึ่งความยาวของโหนกตันดุจ เดียวกับงาช้าง โหนกของนกเงือกมีขนาดและรูปร่างหลากหลาย บ้างก็มีขนาดใหญ่ แบน กว้าง ดัง โหนกของนกกก บ้างก็มีรูป ทรงกระบอก ทอดนอนตามความยาวของจงอยปาก มีปลายงอนดู คล้ายกับนอของแรด ดังโหนกของนกเงือกหัวแรด อันเป็นที่มาของชื่อ Hornbill บางชนิดมีโหนกขนาดเล็ก เป็นลอนดูคล้ายฟันกราม ของช้าง เช่น โหนกของนกเงือกกรามช้าง (Wreathed Hornbill) นกเงือกเป็นนกที่บินเสียงดังมาก โดยเฉพาะนกเงือกขนาดใหญ่ เช่น นกกก นกเงือกกรามช้าง เพราะด้านใต้ปีกของนกเงือกไม่มีขนปกคลุม (Under wing coverts) เมื่อกระพือปีกแต่ละครั้งอากาศจะผ่านช่องว่างโคนขนปีกจึงเกิดเสียงดัง

การทำรัง

นกเงือกจับคู่แบบ ผัวเดียวเมียเดียว ฤดูทำรังของนกเงือก เริ่มต้นช่วงฤดูแล้ง ราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ระยะนี้นกเงือก จะแยก จากฝูง มาหากินบริเวณโพรงรังเก่าเพื่อปกป้องรังและพื้นที่ทำรัง รังของนกเงือก คือ โพรงไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยในต้นไม้วงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) มากที่สุด ขนาดของ ต้นไม้ที่มีโพรงใหญ่พอที่นก เงือกจะทำรังได้นั้นมีเส้นรอบวงเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3 เมตร ในเมื่อนกเงือกไม่ สามารถเจาะโพรงรังเองได้เหมือนนกหัวขวาน จึงต้องหาโพรงไม้ใน ธรรมชาติที่เหมาะสมแคบๆ เพียงพอที่นกเงือกตัวผู้จะส่งอาหารให้แก่นกเงือกตัวเมียซึ่งจะออกไข่ กกไข่ และเลี้ยงลูกอยู่ภายในโพรงจนกว่าลูกนกจะโตพอที่จะบินได้ จึงกะเทาะวัสดุที่ปิดปากโพรงออกมา

นกเงือกเป็นนกที่สะอาด ทั้งแม่และลูกนกจะถ่ายมูลผ่านปากโพรง เมื่อพ่อนกป้อนอาหารเสร็จในแต่ละครั้งก็จะดูแลทำความสะอาดบริเวณปากโพรง ส่วนอาหารที่เป็นผลไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ นกเงือกจะสำรอกทิ้งออกมาภายนอกโพรง ศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของนกเงือกคือ สัตว์ผู้ล่าขนาดเล็ก อาทิเช่น หมาไม้ ซึ่งจะสามารถไต่ขึ้นไปถึงรังนกเงือกได้

การรวมฝูง

เมื่อฤดูทำรังสิ้นสุดลงและลูกนกเงือกบินได้เก่งแล้ว ในช่วงฤดูฝน นกเงือกมักจะพากันมารวมฝูงกันหากินรวมกลุ่มขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างแล้วแต่ชนิดของนกเงือก และรวมฝูงนอนตามหุบเขาลึก อีกทั้งนกรุ่นลูกมีโอกาสจับคู่กับนกเงือกที่มาจากแหล่งอื่น ช่วยให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมมากขึ้น

ภาระของนกเงือกต่อสังคมป่า

ด้วยลักษณะการดำรงชีวิตดังกล่าวมาแล้ว และความหลากหลายของการกินอาหาร นกเงือกจึงเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงดุลยภาพต่างๆ ในสังคมป่าเขตร้อนให้คงอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลง นกเงือกอาจมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี แต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 ต้น/สัปดาห์ หากไม้เหล่านี้สามารถเจริญเป็นไม้ใหญ่ได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง 500,000 ต้น ถ้าป่าไหนมีนกเงือกอยู่ถึง 500 ตัว ป่าเหล่านั้นจะไม่เป็นป่าที่สมบูรณ์ได้อย่างไร

ที่มา http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/research/thai_hornbill.htm

นกเงือก



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=LD7jtCbTNfw&feature=fvwrel

โพรงเทียมนกเงือกต้นแบบงานดีไซน์เพื่อการอนุรักษ์





การออกแบบและจัดสร้างโพรงเทียมสำหรับนกเงือก โดย อาจารย์ชาคร ผาสุวรรณ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) กรุงเทพฯ คือ งานวิจัยเชิงประยุกต์ที่ให้ความสำคัญต่อการออกแบบโพรงเทียม ขั้นตอน และวิธีการทำงานที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่


อาจารย์ชาครบอกว่า 9 ปีที่แล้ว โพรงเทียมนกเงือกติดตั้งที่อุทยานฯ บูโด จำนวน 20 โพรงเทียม ในปัจจุบันพบว่านกเงือกเข้ามาดู 15 โพรงรัง มีนกกก และนกเงือกหัวแรดใช้ทำรัง 6 โพรงเทียม นกกกประสบผลสำเร็จในการขยายพันธุ์เพียง 5 โพรงเทียม และได้ลูกนกกกจากโพรงเทียม 16 ตัว


"เพราะต้นไม้ใหญ่โดนตัด นกเงือกจึงไร้โพรงรัง เราจึงออกแบบสร้างโพรงเทียมขึ้นมาทดแทน ซึ่งนกมีแนวโน้มมาใช้โพรงเทียมมากขึ้น แต่โครงการนี้ต้องทำงานระยะยาวต่อเนื่องจึงจะสรุปผลวิจัยได้ชัด อาจต้องใช้เวลาชั่วทั้งชีวิตของนักวิจัยเลยก็ได้ ปลื้มใจที่ได้นำความรู้ในตัวมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างน้อยที่สุดก็ได้ช่วยเหลือนกหลายครอบครัวที่ใช้โพรงเทียมของผมเป็นบ้าน ทุกครั้งที่ส่องกล้องเข้าในโพรง ได้สบตากับนกเงือก รู้สึกเหมือนนกกำลังบอกขอบคุณ" นักออกแบบหัวใจอนุรักษ์เผยความรู้สึกจากใจ


สำหรับโพรงเทียมในการวิจัยครั้งนี้ ถือเป็นต้นแบบที่ต้องพัฒนาต่อไป สร้างขึ้นจากไฟเบอร์กลาส โดยใช้ฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟม ปากโพรงทำจากไม้จริงเพื่อลดน้ำหนัก โพรงเทียม 1 โพรงมีส่วนประกอบ 6 ชิ้น แต่ละชิ้นสามารถขนส่งในป่า โดยการแบกสะพายหลัง น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม การติดตั้งโพรงเทียมที่เหมาะสมที่สุด ทำโดยแขวนกับกิ่งไม้ใหญ่ หรือใต้ง่ามไม้ และรัดแนบกับลำต้นด้วยลวดสลิง ปัจจุบันมีโพรงเทียมจำนวน 18 โพรง ถูกติดตั้งที่อุทยานฯ บูโด.

ที่มา http://www.ryt9.com/s/tpd/1347262

รู้จัก "นกเงือก"

        นกเงือกสัญลักษณ์รักเดียวใจเดียว สะท้อนความรักของคนในปัจจุบันที่มักเปลี่ยนคู่บ่อยจนมีวลีเด็ด "หล่อเลือกได้" หรือ "สวยเลือกได้"




            ปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 50 กว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยเฉพาะผืนป่าตะวันตก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งรวมแล้วมีนกเงือกประมาณ 3,000 ตัว  นกเงือกจึงเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง
            นกเงือกมีบทบาทเด่นในการช่วยกระจายพันธุ์ไม้ในป่า เนื่องจากนกเงือกกินผลไม้สุกเป็นอาหารมากกว่า 300 ชนิด ทั้งผลไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และด้วยพฤติกรรมของนกเงือกบินหาอาหารไปทั่ว และกินผลไม้เข้าไปทั้งผลแล้วขย้อนเมล็ดออกมา จึงสามารถนำพาเมล็ดพันธุ์พืชไปทิ้งไว้ยังที่ต่างๆ และเจริญขึ้นเป็นต้นกล้าได้ทั่วป่า นกเงือกจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแพร่พันธุ์ของพืช ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในป่า และทำให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ นอกจากนี้นกเงือกยังเป็นสัตว์รักเดียวใจเดียว เนื่องจากพฤติกรรมของนกเงือกจะใช้ชีวิตคู่แบบ "ผัวเดียวเมียเดียว" จนแก่เฒ่าหรือกว่าจะตายจากกัน และตัวผู้ยังมีลักษณะของหัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารให้และคอยดูแลปกป้องลูกนกและแม่นกให้ปลอดภัย นกเงือกจึงได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของ "รักแท้"
            รูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงามทำให้นกเงือกถูกรุกรานโดยมนุษย์ผู้ไม่เห็นคุณค่าของชีวิตและ ความรักของผู้อื่นหรือสัตว์อื่น ทำให้เผ่าพันธุ์ของนกเงือกต้องตกอยู่ในภาวะอันตรายและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทั้งจากการถูกล่าโดยตรง และจากการลดจำนวนของผืนป่าและไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนกเงือก มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 ก.พ. ของทุกปีเป็น "วันรักนกเงือก" โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาเพื่อให้คนไทยเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์นก เงือกให้คงอยู่คู่กับป่าที่อุดมสมบูรณ์ตลอดไป ซึ่งในแต่ละปีก็จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อระดมทุนสำหรับการศึกษาวิจัยและ อนุรักษ์นกเงือกในประเทศไทย      

ที่มา   http://share.psu.ac.th/blog/earth-toy/23027                           

เพลงนกเงือก




ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=bglWUYQIkA8

วงจรชีวิตของนกเงือก

วงจรชีวิตของนกเงือก อาจแบ่งง่ายๆ ออกได้เป็น 2 ช่วง ดังนี้
ฤดูผสมพันธุ์
ชีวิตรักของนกเงือกเริ่มต้นราวกลางเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ นกเงือกตัวผู้จะบินไปเสาะหาโพรงไม้ โดยมีนกเงือกตัวเมียบินติดตามไปดูด้วย นกเงือกตัวผู้จะคาบผลไม้แล้วพยายามป้อนให้นกเงือกตัวเมีย การเกี้ยวพาราสีลักษณะแบบนี้ มักจะพบเห็นในบริเวณใกล้ๆ กับต้นไทรหรือต้นไม้ที่นกเงือกจะใช้เป็นที่ทำรังและวางไข่
เมื่อนกเงือกตัวผู้ต้องการให้นกเงือกตัวเมียเข้าไปในโพรง มันจะเชิญชวนด้วยการบินเข้าไปเกาะปากโพรงแล้วยื่นจะงอยปากเข้าไปในโพรง บางครั้งก็ใช้ด้านข้างของจะงอยปากตีรัวเบาๆ กับผนังปากโพรงทั้ง2ข้างจากนั้นมันจะบินออกมาเกาะที่กิ่งไม้หากนกเงือกตัวเมียมีความพร้อมมันจะบินไปเกาะปากโพรงแล้วมุดหัวเข้าไปสำรวจดูภายในโพรงว่าข้างในมีสภาพเหมาะสมสำหรับใช้เป็นที่วางไข่และเลี้ยงลูกอ่อนหรือไม่เมื่อนกเงือกตัวเมียรับการเชิญชวน มันจะมุดเข้าไปในโพรงเพื่อทำความสะอาด แล้วเริ่มปิดปากโพรงเสียใหม่โดยใช้วัสดุเท่าที่จะหาได้ภายในโพรงผสมกับมูลของมันรวมทั้งอาหารที่มันสำรอกออกมา
เมื่อนกเงือกตัวเมียขังตัวเองอยู่ภายในโพรงเรียบร้อยแล้ว นกเงือกตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลอย่างดีน่ายกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง ในระยะแรกๆ ของการทำรังคือช่วงที่ตัวเมียฟักไข่อยู่นั้น นกเงือกตัวผู้จะป้อนอาหารไม่บ่อยนัก อาหารส่วนมากจะเป็นพวกผลไม้ และช่วงนี้เองที่นกเงือกตัวเมียจะผลัดขนใหม่โดยเฉพาะขนปีกครั้นลูกนกฟักออกจากไข่เป็นตัวแล้ว นกเงือกตัวผู้ต้องรับภาระหนักมากยิ่งขึ้นโดยพ่อนกจะนำอาหารมาป้อนตั้งแต่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งหลังพระอาทิตย์ตก การป้อนอาหารจะถี่ขึ้นเรื่อยๆ ถึงประมาณวันละ 10 ครั้งหรือกว่านั้น อาหารที่พ่อนกนำมาป้อนมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผลไม้หรือสัตว์เมื่อลูกนกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว พ่อนกและแม่นกยังคงหาอาหารมาป้อน และช่วยสอนให้ลูกนกบินร่อนไปในหมู่ไม้อีกประมาณ 5-6 เดือน หรือจนกว่าใกล้จะถึงฤดูทำรังใหม่ก็เป็นอันว่าลูกนกเจริญเติบโต สามารถหาอาหารและดูแลตัวเองได้

นอกฤดูผสมพันธุ์
หลังจากที่แม่และลูกนกเงือกออกจากโพรงแล้ว ระยะแรกของฤดูนี้มักเห็นนกเงือกอยู่กันเป็นครอบครัว พอถึงกลางฤดูฝน นกเงือกจะรวมฝูงกันมากขึ้นในช่วงที่รวมฝูงกันอยู่นั้น ทุกๆ เช้า ฝูงนกเงือกจะค่อยๆ ทยอยบินออกจากที่เกาะนอนไปยังแหล่งอาหาร จนกระทั่งตอนเย็น นกเงือกก็จะทยอยบินมาเกาะนอนรวมกันบนต้นไม้ในหุบเขาครั้นถึงกลางฤดูหนาวซึ่งใกล้ฤดูผสมพันธุ์ จำนวนของนกเงือกในฝูงก็จะเริ่มลดจำนวนลงเรื่อยๆ และเริ่มแยกเป็นคู่ๆ กลับไปยังโพรงเก่าหรือเสาะหาโพรงใหม่ เพื่อทำรังและวางไข่อีกครั้ง วนเวียนกันอยู่เช่นนี้ปีแล้วปีเล่า


ที่มา http://www.wcd13phrae.com/wildlife10_16.htm

นกเงือกไทย

       นกเงือก”. มิใช่ว่ามีประโยชน์เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยประดับโลกนี้ให้ดูสวยงามเท่านั้น แต่นกยังเป็นสัตว์มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ในอีกหลายๆ ประการ ...
• กำจัดแมลงศัตรูพืช
• กำจัดวัชพืช
• ผสมเกสรดอกไม้ต่างๆ
• ช่วยแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ไม้
วิถีชีวิตของเขายังให้แง่คิดแก่สังคมมนุษย์ ในเรื่องของความซื่อสัตย์และภักดีต่อคู่ชีวิต ตลอดจนความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูครอบครัว และหน้าที่ต่อสังคม ที่เขาอาศัยอยู่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงวิถีชีวิตที่วิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอด หากมนุษย์มีความรับผิดชอบต่อครอบครัวของตนเฉกเช่นนกเงือกแล้ว ปัญหาสังคมหลายๆ ประการที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบันก็คงลดน้อยลง
มีคำถามว่า “การอนุรักษ์ธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์มากน้อยเพียงใด”
ท่านยวาหระลาล เนห์รู นักปราชญ์ชาวอินเดีย ได้ให้แง่คิดที่ดีไว้ว่า “ถ้าสัตว์และนกที่สวยงามของเราไม่มีเหลือไว้ประดับโลกเสียแล้ว ชีวิตก็จะกลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายและหมดสีสันลงทันที”นั่นก็คือ สัตว์ป่าทั้งหลายรวมทั้งนกย่อมมีส่วนช่วยจรรโลงสังคมมนุษย์ไม่วิถีทางใดก็ลักษณะสำคัญของนกเงือกนกเงือก หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Hornbill นั้น มีอยู่ด้วยกันถึง 54 ชนิดในโลก พบได้เฉพาะใน ป่าเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชียเท่านั้น ใน ประเทศไทยมีนกเงือกอยู่ถึง 13 ชนิดนกเงือกมีหน้าตาออกจะโบราณ สีขนโดยทั่วไปมักมีสีดำ-ขาว ที่แปลกออกไปบ้างคือ สีน้ำตาลเทา ลำตัวของนกเงือกมีขนาดใหญ่จนถึงใหญ่มาก บางชนิดอาจมีขนาดตัวถึง 1.5 เมตร ความกว้างของปีกที่กางออกอาจถึง 2 เมตรนกพวกนี้มีลักษณะที่เด่น คือ มีปากยาวใหญ่และมี “โหนก” (casque) เหนือปาก หากมองเผินๆ เราอาจคิดว่านกเงือกคงจะต้องคอนโหนกที่ดูหนักอึ้งเกินความจำเป็น แต่โดยแท้จริงแล้วลักษณะของโหนกภายในนั้นเป็นโพรง
ที่มา http://www.wcd13phrae.com/wildlife10_16.htm

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นกเงือก...นกที่ซื่อสัตย์ต่อคู่ชีวิต


    ได้มีโอกาสดูสารคดีเกี่ยวกับชีวิตนกเงือก  และได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของนกเงือกมาเยอะพอสมควร
เลยอยากจะเอามาเก็บไว้เป็นสาระน่ารู้ไว้ใน blog  และที่สำคัญตั้งใจจะใช้ชีวิตครอบครัว
ตามนกเงือก คือ เมื่อเลือกคู่ชีวิตแล้ว  จะซื่อสัตย์ต่อคู่  เหมือนที่นกเงือกต่างก็ซื่อสัตย์ต่อกัน
ลองมาอ่านดูนะว่า  นกเงือกน่าสนใจแค่ไหน.....   

 
  นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู๋กี๋  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aceros undulatus (บางตำราใช้ว่า Rhyticeros undulatus)  ชื่อชนิดมาจากรากศัทพ์ภาษาละติน คือ undulat หรือ uada แปลว่า คลื่น และ -tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ "ปากและโหนกแข็งมีลวดลายคล้ายคลื่น" พบและจำแนกชนิด ได้ครั้งแรก ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกเงือกกรามช้าง 2 ชนิดย่อย คือ A. U. undulatus และ A. U. Ticehursti พบชนิดย่อยนี้ที่จังหวัด น่าน ประเทศไทยพบทั้งสองชนิดย่อย
นกเงือกกรามช้าง  มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "นกกู๋กี๋" เข้าใจว่าชื่อจะเพี้ยนมาจากสำเนียงภาษาปักษ์ใต้  ที่เรียกนกชนิดนี้ว่า "นกคู่คี่"  เพราะจากปากคำของชาวบ้านที่อธิบายถึงที่มาของชื่อนี้ว่า  นกชนดนี้บินไปทำรังเป็น คู่  แล้วกลับมา คี่  คือได้ลูกมา 1 ตัว ฟังดูก็นับว่าเข้าเค้า  แต่ชื่อนกเงือกกรามช้าง ก็ฟังดูเหมาะสมดี เพราะลักษณะของปากนกชนิดนี้ มีรอยหยักคล้ายกรามช้าง ยิ่งอายุมาก รอยหยักนี้จะปรากฎเด่นชัดขึ้น และ มีจำนวนหลายหยัก ด้วยกัน
รูปร่างลักษณะ  นกเงือกกรามช้าง หรือนกกู๋กี๋  เป็นนกขนาดใหญ่มาก  ความยาวจากปลายปากจดหาง นกตัวผู้ 100.5 - 115 ซม. นกตัวเมีย มีขนาดเล็ก กว่านกตัวผู้เล็กน้อย คือ 84 - 98 ซม. นกเงือกกรามช้างที่พบทางใต้ของประเทศไทยและคาบวมุทรมาลายู จะมีขนาดเล็กกว่า นกที่พบแพร่กระจายทางตอนเหนือของเขตแพร่กระจายพันธุ์
นกตัวผู้  ขนคลุมลำตัวเป็นสีดำ บริเวณด้านข้างของหัว คอ และ อก สีออกน้ำตาลปนขาว ขนหางสีขาว มีประจุดสีออกเหลือง ปนน้ำตาลเล็ก ๆ ประปราย ถุงใต้คางสีเหลืองมีแถบสีดำ ปาก สีงาช้าง หรือ ขาวอมเหลือง กลางปากเป็นสีเข้มและสีอ่อนลงจนเป็นสีอ่อนที่โคนปาก กลางกระหม่อม ลงที่ ถึงหลังคอ มีแถบสีน้ำตาลเข้ม โคนปากมีรอยหยักเป็นบั้ง ๆ ซึ่งมีลักษณ์ที่ทำให้มองดูคล้ายกรามของช้าง เป็นที่มาของชื่อนกเงือกชนิดนี้ ชนิดย่อย ticehursti  นกตัวผู้บริเวณกระหม่อมมีสีขาว หงอนขนสีน้ำตาลเข้ม วงรอบเบ้าตาสีแดง หน้าผาก ใบหน้า และ คอ สีขาว ถุงใต้คางสีเหลือง โหนกแข็งบนหัวมีขนาดเล็ก แต่มีรอยบั้งชัดเจนกว่าของนกตัวเมีย
นกตัวเมีย  หัว คอ และ อก สีดำ วงรอยเบ้าตาสีจางไม่ฉูดฉาด หน้าผาก กระหม่อม หงอนขน ใบหน้า และ คอ มีสีดำ โหนกแข็งเล็ก ถุงใต้คางมีสีฟ้า
ทั้งสองเพศคล้ายนกตัวผู้ที่เต็มวัย รอยบั้งที่โคนปากยังไม่ชัดเจน โหนกแข็งเล็กกว่าตัวที่เต็มวัย รอยขีดสีดำที่ถุงใต้คอ ยังไม่เข้มชัด
นิสัยประจำพันธุ์  มักพบอยู่เป็นฝูงขนาดเล็ก แต่ในบริเวณที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ อาจพบฝูงขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะพบเกาะนอนรวมกันจำนวนมาก ตามยอดไม้ในบริเวณที่ไม่ถูกรบกวน
พฤติกรรมการป้อนอาหารของนกเงือก เป็นเรื่องที่ประทับใจ อาจารย์พิไล พูลสวัสดิ์ ผู้ศึกษาวิจัยนกเป็นอย่างมาก ท่านเล่าไว้ว่า พ่อนก จะป้อนให้จนถึงปากตัวเมีย ไม่มีการขยอกใส่เข้าในรัง แล้วปล่อยให้เก็บกินเองเด็ดขาด ตัวผู้ป้อน หรือ พยายามป้อนให้นกัวเย รับจากปาก ของมัน เพราะบางครั้งตัวเมียก็เล่นตัวไม่ยอมรับ หรือ รับอย่างเสียไม่ได้ แล้วโยนทิ้งออกมาต่อหน้าต่อตา ซึ่งนกตัวผู้จะมองตามอย่างเสียดาย ถ้าเป็นแมลงจะสังเกต เห็นว่า พ่อนกจะไล่ตามเก็บมาป้อนอีก  บางครั้งพ่อนกต้องล่อหลอกป้อนผลไม้บ้าง จึงอาจกล่าวได้ว่า นกตัวเมีย มีส่วนในการกำหนดรายการอาหารอยู่เหมือนกัน นอกจากหาอาหารมาป้อนแล้ว พ่อนกทุกตัวยังมีหน้าดูแลทำความสะอาดปากโพรงอยู่เสมอ ถึงแม้ว่านกเงือกจะมีนิสีย ถ่ายมูลออกนอกโพรง แต่ถ้าลูกนกยังเล็ก จนไม่สามารถถ่ายมูลให้พ้นจากโพรงได้ แม่นกก็ต้องคอยเขี่ยทิ้งบ้าง ถ้ายังติดอยู่ที่ส่วนล่างของปากโพรง พ่อนกจะทำหน้าที่เป็น "ผู้พิทักษ์ความสะอาก " ต่อ
ภาระอันหนักอึ้งในแต่ละวันของพ่อนกเงือก จะสิ้นสุดลงเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน  ซึ่งบางครั้งอาจเลยไปถึง อาจเลยไปถึงเกือบ 19.00 น.  ต่อจากนั้นพ่อนกก็จะบินไปหาที่นอน ซึ่งอาจอยู่ใกล้แหล่งอาหารแหล่งใดแหล่งหนึ่ง เพื่อที่ว่าในเมื้อแรก ของวันรุ่งขึ้น จะได้ไม่เสียเวลาเสาะหา มากนัก
เมื่อย่างเข้าฤดูฝน ในราว ปลายเดือนพฤษภาคม หรือ ต้นมิถุนายน จะเป็นช่วงที่ภาระของพ่อนกใกล้สิ้นสุดลง นั้นคือแม่และลูก  ซึ่งโตจะออกมา สู่โลกภายนอก ได้พากันออกจากโพรง ซึ่งระยะเวลาหลังจากนี้ไปเรียกว่า เป็น ช่วงนอกฤดูทำรัง  ที่ทั้งพ่อและแม่นกจะช่วยกันเลี้ยงลูก ซึ่งจะยังคงอยู่กับพ่อแม่ ไปจนถึงฤดูทำรังของปีต่อไป ใกล้เข้ามา   เป็นวัฎจักรวนเวียนอยู่เช่นนี้
                   ในช่วงนอกฤดูทำรัง นกเงือกมักรวมฝูงกันใหญ่บ้างเล็กบ้าง แล้วแต่ชนิด  คำว่า " รวมฝูง " หมายถึง ครอบครัวหลายๆครอบครัวมารวมกัน  แล้วพากัน ไปหากินยังที่ใดที่หนึ่ง  ตกเย็นก็มานอนรวมกัน  ตามหุบเขาในป่าลึก หรือตามชายป่า แล้วแต่ชนิด ในบรรดานกเงือก 4 ชนิด นกกู๋กี๋ จะรวมฝูงเป็นจำนวน มากที่สุด และ มักนอนตามหุบเขาในป่าลึก  พอเช้าตรู่ก็จะพากันออกไปหากินเป็นฝูงใหญ่
    เมื่อนักดูนกพบแหล่งที่นอนของนกกู๋กี๋ แล้ว ช่วงที่ตื่นเต้นที่สุดเห็นจะได้แก่ ช่วงเวลาที่เราคอยดู และ นับนกที่บินผ่านเราในหุบเบื้องล่างนั้น  เพราะ เป็นภาพที่น่าดูยิ่ง  ราวกับลำน้ำที่ไหลคดเคี้ยว  ไประหว่างขุนเขาทะมึนที่ขนาบอยู่สองข้าง  ปีที่อาจารย์พิไล พูลสวัสดิ์  สามารถนับจำนวนนกกู๋กี๋ หรือ นกเงือกกรามช้าง ได้มากที่สุด  เมื่อทำงานวิจัยที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ก็คือปี 2527 ซึ่งนับได้ถึงกว่า 1,000 ตัว   เวลาที่ผู้เฝ้าดูอยู่ภายในหุบแล้ว ฝูงนกกู่กี๋บินผ่านศรีษะ  เสียงปีกที่แหวกอากาศ  ของนกเป็นสิบเป็นร้อยนั้น  จะดังราวกับพายุทีเดียว เนื่องจากนกเงือก ไม่มีขนคลุมด้านใต้ของ ปีก  จึงทำให้อากาศผ่านช่วงล่างระหว่างโคนขนปีกได้ และ เกิดเสียงดังมาก
 นกกู่กี๋  เป็นนกเงือกที่บินแข็งที่สุด  มันสามารถบินโดยตีปีกติดต่อกัน  จากเขาลูกหนึ่ง ไปยังเขาอีกลูกหนึ่ง  ที่ห่างกันอย่างน้อย  1 กม. ได้โดยไม่ต้อง หยุดพัก  ซึ่งต่างจากนกกก นกแก๊ก และ นกเงือกสีน้ำตาล  ที่จะตีปีกได้เพียง 4 - 5  ครั้ง  แล้วร่อนไปเป็นระยะๆ  ทั้งยังต้องหยุดพักตามต้นไม้ด้วย
   แหล่งอาศัยหากิน  พบตามป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น  ป่าดงดิบเขา และ ป่าชายเลน  ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนถึงระดับความสูง 1,830  เมตร จากระดับน้ำทะเล  นอกจากนี้ยังพบตามป่า บนเกาะ ในทะเล  ที่ไม่ห่างจากฝั่งแผ่นดินใหญ่มากนักด้วย  หรือ บินมาหาอาหารที่ฝั่งแผ่นดินใหญ่  แล้วกลับ ไปนอนบนต้นไม้ในป่าบนเกาะ

ที่มา  http://withmylove.exteen.com/20080506/entry

นกเงือกหัวหงอก


นกเงือกหัวหงอก
White-crowned Hornbill(White-crested Hornbill) 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Berenicornis comatus 
--------------------------------------------------------------------------------
                                           ลักษณะทั่วไป
     นกเงือกหัวหงอกมีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 90 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะไม่เหมือนกัน ส่วนหัว คอ หน้าอก และปลายปีกของตัวผู้มีสีขาว นอกนั้นมีสีดำ ส่วนตัวเมียมีคอและตัวสีดำ ปากมีขนาดใหญ่สีเทาดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีหงอนขนเป็นสีขาว
      

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     พบในทวีปเอเชียแถบสุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย เวียดนาม เทือกเขาตะนาวศรี สำหรับในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ และบางแห่งของภาคตะวันตก เช่นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
     อาหารได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็ก เช่น งู จิ้งเหลน กิ้งก่า รวมถึงผลไม้ชนิดต่าง ๆ ด้วย เช่น ผลไม้ ลูกไม้


พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ชอบส่งเสียงร้องดังอยู่เสมอ อาศัยตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลหรือสูงกว่า
     พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกเงือกหัวหงอก เป็นลักษณะเดียวกับนกเงือกชนิดอื่น โดยตลอดชีวิตจะไม่มีการเปลี่ยนคู่เลย ตัวเมียจะวางไข่ในโพรงไม้ ตัวผู้เป็นฝ่ายหาอาหารมาป้อนแม่นกและลูกนก


สถานภาพปัจจุบัน    
     ปัจจุบันมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

                                                                      สถานที่ชม
      สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

นกเงือกในไทย

 นกเงือก



นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่ ส่วนมากมักจะมีขนสีดำสลับขาว ทั่วโลกมี 55 ชนิด  มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปอัฟริกา และเอเชีย

นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขัง ตัวอยู่ภายในเพื่อออกไข่เลี้ยงลูก




ประเทศไทยมีนกเงือก 13 ชนิด ซึ่งในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งอยู่ใน จังหวัดนครราชสีมา มี 4 ชนิด ได้แก่ นกกก หรือ นกกะวะหรือ นกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ และ นกแก๊ก หรือนกแกง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบ 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงืกปากย่น นกเงือกชนหิน นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง 




รายชื่อนกเงือกที่พบในประเทศไทยนกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง Great Hornbill, Buceros bicornis

นกเงือกหัวแรด Rhinoceros Hornbill, Buceros rhinoceros
นกเงือกหัวหงอก White-crowned Hornbill, Berenicornis comatus
นกชนหิน Helmeted Hornbill, Rhinoplax vigil
นกแก๊ก หรือ นกแกง Oriental Pied Hornbill, Anthracoceros albirostris
นกเงือกดำ Black Hornbill, Anthracoceros malayanus
นกเงือกคอแดง Rufous-necked Hornbill, Aceros nipalensis
นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว Austen's Brown Hornbill, Anorrhinus austeni
นกเงือกสีน้ำตาล Tickell's Brown Hornbill, Anorrhinus tickelli
นกเงือกปากดำ Bushy-crested Hornbill Anorrhinus galeritus
นกเงือกปากย่น Wrinkled Hornbill, Aceros corrugatus
นกเงือกกรามช้าง หรือนกกู่กี๋ Wreathed Hornbill, Rhyticeros undulatus
นกเงือกกรามช้างปากเรียบ Plain-pouched Hornbill, Rhyticeros subruficollis

นกเงือกหัวแรด



นกเงือกหัวแรด

Rhinoceros Hornbill
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Buceros rhinoceros

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกเงือกที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีความยาวลำตัวประมาณ 120 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย โดยตัวเมียมีขนาดลำตัวเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย มีโหนกบริเวณหูและตาซีดกว่าตัวผู้ นอกนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก ขนบนปีกและตัวสีดำ ท้องและหางมีสีขาวและมีแถบสีดำพาดตามขวางตรงใกล้ปลายหาง คล้ายกับนกกาฮัง โหนกบริเวณเหนือปากเป็นรูปโค้งขึ้นทางด้านบน ตรงโคนโหนกมีสีแดงบริเวณตอนหน้าของส่วนที่โค้งขึ้นทางด้านบน



ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป
อาหารได้แก่ งู จิ้งเหลน กิ้งก่า ผลไม้ ลูกไม้ สัตว์เล็กๆ

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบในระดับความสูงไม่เกิน 4,000 ฟุต หรือ 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล มักเกาะบนกิ่งไม้สูง
พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกเงือกหัวแรดเหมือนกับนกเงือกอื่น ๆ โดยทำรังไข่อยู่ตามโพรงไม้ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายหาอาหารมาเลี้ยงแม่นกและลูกนก

สถานภาพปัจจุบัน
ปัจจุบันมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

Credit : wikipedia