วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของนกเงือก


          นกเงือก (Hornbill) เป็นนกที่มีรูปร่างหน้าตาโบราณ ถือกำเนิดมาไม่น้อยกว่า 45 ล้านปี จัดอยู่ในวงศ์ Bucerotidae มีอยู่ด้วยกัน 52 ชนิดในโลก ซึ่งไม่นับรวม Ground Hornbill 2 ชนิดของแริกา พบได้ในป่า และทุ่งหญ้าเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชียเท่านั้น
             ในประเทศไทยมีนกเงือก 12 ชนิด ได้แก่ นกกก (Great Hornbill) นกเงือก กรามช้าง (Wreathed Hornbilll) นก แก๊ก (Oriental Pied Hornbill) นกเงือก สีน้ำตาลคอขาว (White-throated Brown Hornbill) นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros Hornbill) นกชนหิน (Helmeted Hornbill) นกเงือกหัวหงอก (White-crowned Hornbill) นกเงือกปากดำ (Black Hornbill) นกเงือกดำ (Black Hornbill) นกเงือกสีน้ำตาล (Brown Hornbill) นกเงือกปากย่น (Wrinkled Hornbill) นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Plain-pouched Hornbill) และนกเงือกคอแดง (Rufous-necked Hornbill) นกเงือกเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ จึงถูกจัดให้เป็น Flagship species Keystone species และ Umbrella species ของป่าเขตร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นกเงือกมีบทบาทเด่นในระบบนิเวศป่าและหลายชนิดอยู่ในสภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ นกเงือกเป็นตัวช่วยกระจายพันธุ์ไม้ (Seed disperser) ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากพฤติกรรมการเลือกกินผลไม้สุก และนำพาเมล็ดไปทิ้งในพื้นที่ต่างๆ ที่นกเงือกบินไปหากินในแต่ละวัน จากการวิจัยพบว่านกเงือกกินผลไม้ได้มากกว่า 300 ชนิด 100 สกุล 40 วงศ์ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีขนาดผลใหญ่กว่า 1.5 ซม ซึ่งนกขนาดเล็กไม่สามารถช่วยกระจายเมล็ดได้ จึงต้องอาศัยนกเงือกเป็นกำลังสำคัญ นกเงือกจึงช่วยรักษาความหลากหลายของพืช โดยเป็นผู้ล่าที่สำคัญของระบบนิเวศป่า ช่วยควบคุมประชากรสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงและหนู เป็นต้น จากความสัมพันธ์ของนกเงือกกับระบบนิเวศป่าสมบูรณ์ในแง่ต่างๆ ทำให้นกเงือกมีความอ่อนไหวต่อพื้นที่ป่าที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจัดนกเงือกเป็น Indicator species ของป่าแต่ละแบบได้อีกด้วย หากนกเงือกมีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ไป จากพื้นที่ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกหลายชนิดอาจสูญพันธุ์ตามไปด้วย โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ที่เป็นอาหารของนกเงือก


ที่มา http://kularbly.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431535

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น