วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

นกเงือก ราชินีแห่งป่าดิบ



นกเงือกหัวแรด

      นกเงือกดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า ด้วยพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่แปลกประหลาดจากนกอื่นใดในโลก ทำให้ ศ.ดร.พิไล พูลสวัสด์ แห่งภาควิชาจุลชีววิทยา ม.มหิดล มีความสนใจที่จะเรียนรู้ศึกษาในวิถีชีวิตของพวกมันเป็นอย่างมาก
เป็นเวลากว่า 30 ปีที่อาจารย์ได้ศึกษาวิจัยนกเงือกด้วยความทุ่มเท อุทิศทั้งชีวิตเพื่อที่จะทำความเข้าใจในวิถีชิวิตและถิ่นอาศัยของนกเงือกภายใต้โครงการศึกษาวิจัยนิเวศวิทยานกเงือก ม.มหิดล ทำให้วันนี้ผลงานวิจัยมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จนทำให้รู้และเข้าใจในวิถีชีวิตอยางลึกซึ้ง เข้าใจในความรักของนกเงือกที่อยู่คู่กันไปจนตัวตาย เข้าใจในความรับผิดชอบของตัวผู้ที่ต้องเลี้ยงดูลูกเมียอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนมีคนกล่าวกันว่าถ้าใครอยากรู้จักรักแท้ ต้องไปดูนกเงือกจึงจะเข้าใจ

นกเงือกคอแดง

พื้นที่ศึกษานกเงือกแห่งแรกเริ่มที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งถือว่ามีข้อมูลของนกเงือกมากที่สุด ต่อมาได้ขยายพื้นที่ศึกษาไปที่เทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี และป่าฮาลาบา จ.นราธิวาส ซึ่งพื้นที่2แห่งนี้อาจารย์ได้พบนกเงือกเฉพาะถิ่นที่มีความนาสนใจและแตกต่างจากเขาใหญ่เป็นอย่างมาก
นกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 ชนิด และมี3ชนิดทางภาคใต้ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากพื้นที่ป่าที่เรียกว่าบ้านของนกเงือกหมดไปอีกทั้งยังมีการลักลอบโขมยนกเงือกไปขายและด้วยความห่วงใยดังกล่าว อาจารย์พิไล จึงเริ่มโครงการต่างๆมากมายเพื่อที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการล่านกให้มาเป็นนักอนุรักษ์นกอย่างยั่งยืน ปัจจุบันโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก


ทุกวันนี้ผลงานวิจัยและงานอนุรักษ์นกเงือกที่อาจารย์ทำมากว่า30ปี เป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจไปทั่วโลก แต่งานวิจัยของอาจารย์ยังไม่จบและยังคงดำเนินต่อไป เพียงเพื่อให้นกเงือกสามารถอยู่รอดในป่าต่อไปและเพื่อให้พวกเราเห็นความสำคัญคัญต่อการอนุรักษ์ใช่แต่เพียงนกเงือกเท่านั้นแต่ยังหมายถึงผืนป่าให้คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ตลอดไป

นกเงือกกรามช้าง

นกเงือกหัวหงอก


ที่มา http://naranong.multiply.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น