นกกก, นกกาฮัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Buceros bicornis
ชื่อสามัญ (Common name): Great Hornbill
เป็นนกเงือกขนาด ใหญ่มากขนาดตัวราว 122 ซม. สีเหลืองบนปากและโหนกเกิดจากสีของน้ำมันจากต่อมโคนหางที่นกทาเอง ตัวผู้ตาแดง ตัวเมียตาขาว อาหารของนกกก ได้แก่ ผลไม้ป่าต่าง ๆ โดยเฉพาะ ลูกไทร และสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น หนู งู นก แมลง ฯลฯ ตัวเมียจะกระเทะปากโพรงออกมาช่วยตัวผู้เลี้ยงลูก เมื่อลูกนกออกจากไข่ ราว 1 เดือน เลี้ยงลูก 1 ตัวเท่านั้น พบได้ตามป่าใหญ่ ๆ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
นกแก๊ก, นกแกง
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anthracoceros albirostris
ชื่อสามัญ (Common name): Oriental Pied Hornbill
เป็นนกสีดำขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับนกเงือกสีน้ำตาล คือราว 70 ซม. ปากและโหนกสีงาช้าง ตัวผู้มีโหนกยาวทรงกระบอกทอดตามความยาวของปากมีสีดำ แต้มตรงส่วนหน้า ตัวเมียโหนก เล็กกว่าและมีสีดำเปรอะ ทั้งโหนกและปากอาหารมีทั้งผลไม้และสัตว์เล็ก ๆ ลง หากินตามพื้นดินด้วย มักพบอยู่ตามชายป่า เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
นกเงือกกรามช้าง, กู๋กี๋
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros undulatus
ชื่อสามัญ (Common name): Wreathed Hornbill
ขนาดตัว ราว 130 ซม. มีโหนกเป็นลอนหยัก ซึ่งจำนวนลอนบ่งบอกอายุของนก1 ปีต่อ 1 ลอน แต่ก็บอกไม่ได้ตลอดชั่วอายุของนก ปากด้านข้าง เป็นรอยสัน นกกู๋กี๋ตัวผู้มีถุงใต้คอสีเหลืองขีดดำสองข้าง ตัวเมียมีถุงสีฟ้าตัวดำปลอด หางขาว เป็นนกที่บินได้ไกล มาก กินผลไม้เป็นส่วนใหญ่ ตัวผู้หาเลี้ยงตัวเมียและลูก 1 ตัว ซึ่งอยู่ภายในโพรงไม้ตลอดเวลาประมาณ 4 เดือน เคยพบ กระจายเช่นเดียวกับนก กก เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
นกเงือกกรามช้างปากเรียบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros subruficollis
ชื่อสามัญ (Common name): Plain-pouched Hornbill
(Rhyticeros ) รูปร่างหน้าตานิสัยเหมือนนกกู๋กี๋ หรือ นกเงือกกรามช้าง มีขนาดย่อมกว่า และต่างกันตรงที่ปากด้านข้างเรียบ ถุงใต้คอไม่มีขีดดำทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นนกเงือกที่ใกล้สูญพันธุ์ พบบริเวณ ผืนป่าตะวันตกติดกับประเทศพม่า (Myanmar) เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
นกเงือกปากย่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros corrugatus
ชื่อสามัญ (Common name): Wrinkled Hornbill
คล้าย นกกู๋กี๋แต่ขนาดย่อมกว่า โคนหางสีดำ ส่วนปลายกว่าครึ่งความยาวหางมีสีขาว ตัวผู้มีโหนกสูงแต่ไม่หนา ด้านข้างของปากล่างเป็นรอยย่น ถุงใต้คอสีฟ้าซีด ๆ เป็นนกเหงือกที่อยู่ป่าที่ราบต่ำ ซึ่งถูกทำลายเกือบหมดสิ้น เคยพบอยู่ทางภาคใต้ นกเงือกปากย่นเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย พบนกเงือกชนิดนี้ได้ที่ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros nipalensis
ชื่อสามัญ (Common name): Rufous-necked Hornbill
มีขนาดใกล้เคียงกับนกเงือกปากย่น ตัวผู้มีสีสรรสวยงามแต่ไม่มีโหนก ปากสีเหลืองอ่อน อมเขียว ปากบนมีรอยขีดสีดำ ถุงใต้คอสีแสดทั้งสองเพศ ตัวเมียสีดำปลอด เป็นนกเงือกที่พบอยู่ป่าสูง และอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ พบนกเงือกชนิดนี้ได้ทางตะวันตกและ ตะวันตกเฉียงเหนือ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
นกเงือกสีน้ำตาล (Tickell's)
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anorrhinus tickelli
ชื่อสามัญ (Common name): Tickell's Brown Hornbill
ขนาดเล็กกว่า นกเงือกปากดำ และมีนิสัยคล้ายคลึงกัน แตกต่างจากนกเงือกสีน้ำตาล (Austen's) ตรงที่คอมีสีน้ำตาลแดง ทำรังแบบมีผู้ช่วยแต่ผู้ช่วยจะเป็นตัวผู้ทั้งหมด และไปกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวกแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้ เลี้ยงลูกได้มากที่สุดถึง 3 ตัว เป็นนกที่ อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ พบนกเงือกชนิดนี้ ได้ทางภาคเหนือ ตะวันตกและภาคกลาง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นต้น
นกเงือกหัวหงอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros comatus
ชื่อสามัญ (Common name): White-crowned Hornbill
เป็นนกเงือกสีดำขาว ขนาดใกล้เคียงกับนกเงือกกรามช้าง หัวมีหงอนสีขาว ปากและโหนกสีดำ มักพบอยู่กันเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินระดับใต้เรือนยอดไม้ อาหารได้แก่ ผลไม้ป่า พบตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรี ลงไปทางใต้ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เป็นนกเงือกที่ใกล้สูญพันธุ์
นกเงือกหัวแรด
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Buceros rhinoceros
ชื่อสามัญ (Common name): Rhinoceros Hornbill
มีรูปร่างและอุปนิสัย คล้ายคลึงกับนกกกทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีหัวและคอดำ โหนกของนกเงือกหัวแรดโค้งงอนขึ้นสีแดง ปากสีเหลือง ก็ทาด้วยน้ำมัน เช่นเดียวกับนกกก หางขาว มีแถบดำ นกเงือกหัวแรดใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย พบแต่ทางภาคใต้
นกชนหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Rhinoplax vigil
ชื่อสามัญ (Common name): Helmeted Hornbill
เป็นนกเงือกชนิดเดียวที่โหนกตันเหมือนงาช้าง มีสีแดงเข้ม จงอยปากตรงสั้น เป็นนเงือกชนิดเดียวที่ขนหางยาวเป็นกรวย 1 คู่ ตัวผู้มีคอเป็นหนังเปลือยย่นสีแดงเข้ม ส่วนตัวเมียมีสีฟ้าซีดๆ พบนกชนิดนี้ทางภาคใต้ มักพบอยู่โดดเดี่ยว หรือ เป็นคู่ มักเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ในระดับสูง และ ค่อนข้างตื่นคน ปกติจะอาศัย หากินอยู่ในระดับเรือนยอดของต้นไม้ ตัวผู้จะร้องติดกันดัง ตุ๊ก ...ตุ๊ก ... ทอดเป็นจังหวะ ร้องติดกันยาว เสียงร้องจะ กระชั้นขึ้นเป็นลำดับ เมื่อสุดเสียง จะคล้ายเสียงหัวเราะ ประมาณ 4 - 5 ครั้ง เมื่อตกใจ จะแผดเสียงสูงคล้ายแตร เหตุที่นกเงือกชนิดนี้ได้ชื่อว่า ชนหิน เป็นเพราะเวลามันทะเลาะแย่งอาณาบริเวณกัน มันจะบินเอาหัวโขกกัน มีเสียงดังคล้ายกินกระทบกัน บางครั้ง นกชนหินบินเอาหัวชนกันกลางอากาศ
นกเงือกปากดำ, กาเขา
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anorrhinus galeritus
ชื่อสามัญ (Common name): Bushy-crested Hornbill
มีขนาดเล็กกว่า นกเงือกหัวหงอก ลำตัวสีดำปลอด หางมีสีน้ำตาลอ่อนและดำ ตัวผู้มีปากและโหนกดำปลอด ตัวเมียปากมีสีเหลืองอ่อน และดำ หากินเป็นฝูงเล็ก ๆ เมื่อทำรังตัวผู้จะมีผู้ช่วยมาช่วยป้อนอาหารแก่แม่นก และลูกนกในโพรง อาหารได้แก่ ผลไม้ สัตว์เล็ก ๆ และแมลง พบมากทางภาคใต้ เช่น อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
นกเงือกดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anthracoceros malayanus
ชื่อสามัญ (Common name): Black Hornbill
ตัวผู้มีปากและโหนกสีงาช้าง ส่วนตัวเมียปากดำ นกเงือกดำอาจมีพันธุ์ที่มีคิ้วขาวได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ลักษณะอื่น ๆ คล้ายนกแก๊ก แต่ขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย อุปนิสัยคล้ายคลึงกับนกแก๊ก กินอาหารทุกอย่าง เป็นนกที่พบในป่าที่ราบต่ำ ซึ่งถูกทำลายเกือบ หมดสิ้น และเป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย พบแต่ทางภาคใต้ เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาประ-บางคราม
ที่มา: http://kularbly.igetweb.com/index.php?mo=3&art=437911
ช่างเป็นภาพที่สวยงาม!
ตอบลบหากคุณต้องการดูรูปนกเพิ่มเติมฉันแชร์บล็อกของฉัน
https://avesdecordobayargentina.blogspot.com