วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

นกเงือก ราชินีแห่งป่าดิบ



นกเงือกหัวแรด

      นกเงือกดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า ด้วยพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่แปลกประหลาดจากนกอื่นใดในโลก ทำให้ ศ.ดร.พิไล พูลสวัสด์ แห่งภาควิชาจุลชีววิทยา ม.มหิดล มีความสนใจที่จะเรียนรู้ศึกษาในวิถีชีวิตของพวกมันเป็นอย่างมาก
เป็นเวลากว่า 30 ปีที่อาจารย์ได้ศึกษาวิจัยนกเงือกด้วยความทุ่มเท อุทิศทั้งชีวิตเพื่อที่จะทำความเข้าใจในวิถีชิวิตและถิ่นอาศัยของนกเงือกภายใต้โครงการศึกษาวิจัยนิเวศวิทยานกเงือก ม.มหิดล ทำให้วันนี้ผลงานวิจัยมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จนทำให้รู้และเข้าใจในวิถีชีวิตอยางลึกซึ้ง เข้าใจในความรักของนกเงือกที่อยู่คู่กันไปจนตัวตาย เข้าใจในความรับผิดชอบของตัวผู้ที่ต้องเลี้ยงดูลูกเมียอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนมีคนกล่าวกันว่าถ้าใครอยากรู้จักรักแท้ ต้องไปดูนกเงือกจึงจะเข้าใจ

นกเงือกคอแดง

พื้นที่ศึกษานกเงือกแห่งแรกเริ่มที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งถือว่ามีข้อมูลของนกเงือกมากที่สุด ต่อมาได้ขยายพื้นที่ศึกษาไปที่เทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี และป่าฮาลาบา จ.นราธิวาส ซึ่งพื้นที่2แห่งนี้อาจารย์ได้พบนกเงือกเฉพาะถิ่นที่มีความนาสนใจและแตกต่างจากเขาใหญ่เป็นอย่างมาก
นกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 ชนิด และมี3ชนิดทางภาคใต้ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากพื้นที่ป่าที่เรียกว่าบ้านของนกเงือกหมดไปอีกทั้งยังมีการลักลอบโขมยนกเงือกไปขายและด้วยความห่วงใยดังกล่าว อาจารย์พิไล จึงเริ่มโครงการต่างๆมากมายเพื่อที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการล่านกให้มาเป็นนักอนุรักษ์นกอย่างยั่งยืน ปัจจุบันโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก


ทุกวันนี้ผลงานวิจัยและงานอนุรักษ์นกเงือกที่อาจารย์ทำมากว่า30ปี เป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจไปทั่วโลก แต่งานวิจัยของอาจารย์ยังไม่จบและยังคงดำเนินต่อไป เพียงเพื่อให้นกเงือกสามารถอยู่รอดในป่าต่อไปและเพื่อให้พวกเราเห็นความสำคัญคัญต่อการอนุรักษ์ใช่แต่เพียงนกเงือกเท่านั้นแต่ยังหมายถึงผืนป่าให้คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ตลอดไป

นกเงือกกรามช้าง

นกเงือกหัวหงอก


ที่มา http://naranong.multiply.com

ชีวิตคู่นกเงือก

 
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=FCjkwviimE8

 "นกเงือก" ถือเป็นสัญลักษณ์ของ"ครอบครัว" หรือชีวิตคู่ที่สมบูรณ์แบบ เพราะเมื่อมีคู่แล้วมันจะอยู่คู่กันจนกว่าตัวใดตัวหนึ่งตายจากไป ตัวที่เหลืออยู่ก็จะใช้เวลาทำใจครองตัวเป็นโสดอยู่สักระยะแล้วอาจจับคู่ใหม่ นกเงือกวางไข่ครั้งละ 1 ฟอง ตัวเมียจะอยู่ในโพรงโดยใช้เศษดินกับเศษเปลือกไม้ ผสมกับอาหารเหนียวๆ ที่พวกมันสำรอกออกมาแปะโพรงให้มีขนาดเล็กลงจนเหลือรูกว้างประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัวผู้จะได้หาอาหารมาป้อนตัวเมียหรือคู่ของมัน หากวันใดนกเงือกตัวผู้ถูกทำร้ายไม่ว่าด้วยผู้ล่าจากธรรมชาติอย่างหมาใน หมีขอ หรือจากการล่าด้วยน้ำมือมนุษย์ คู่ของมันอาจต้องดับสลายไป หากตัวเมียอยู่ในช่วงสลัดขนไม่สามารถออกไปหาอาหารได้ ชีวิตน้อยๆ ที่เพิ่งลืมตาดูโลกไม่นานก็สูญสิ้นไปด้วยเช่นกัน นกเงือกเป็นสัตว์ที่ซื่อสัตย์ต่อครอบครัว เป็นสัตว์ที่มีความรับผิดชอบ เพราะนอกจากจะทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ดูแลครอบครัวแล้ว ยังเป็นผู้ดูแลสังคม รักษาและสร้างประโยชน์แก่ผืนป่าที่อาศัย หากแต่มนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้กอบโกยเอาผลประโยชน์จากป่าอย่างมหาศาลกลับไม่ดูแลรักษาทรัพยากรที่มีอยู่ กลับตอบแทนด้วยการทำลายทั้งผืนป่าและสิ่งมีชีวิตตัวน้อยที่คอยดูแลและสร้างผืนป่าให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ ต่อไปลูกหลานก็คงต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ต่างไปจากนกเงือกเช่นกัน อย่าปล่อยให้นกเงือก สัตว์ที่ซื่อสัตย์ต้องกลายเป็นเพียงภาพถ่ายและความทรงจำ

 ที่มา http://board.palungjit.com

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

นกเงือกสัญลักษณ์แห่งป่าสมบูรณ์







          นกเงือก   หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Hornbill เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์ Bucerotidae ทั่วโลกพบทั้งหมดมี 52 ชนิด  มีการแพร่กระจายและพบอยู่ในป่าเขตร้อน ของทวีปอัฟริกา และเอเชียเท่านั้น  ในประเทศไทยมีการค้นพบทั้งหมด 13 ชนิด  ในส่วนเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และบริเวณกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ พบ 4 ชนิด ได้แก่
                    -    นกกก  (นกกาฮัง)
                    -    นกเงือกกรามช้าง
                    -    นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว และ
                    -    นกแก๊ก  (นกแกง)




               นกเงือก 4 ชนิดในเขาใหญ่ ได้แก่ นกกก  นกแก๊ก นกเงือกกรามช้าง และนกเงือกสีน้ำตาลคอขาว ตามลำดับ



            นกเงือกเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ ถึงใหญ่มาก ส่วนปากบนมี “โหนก” ประดับอยู่ สีขนของนกมักมีสี ดำ – ขาว ขอบตามีขนตายาวงาม เสียงร้องดัง ลักษณะเด่นที่สำคัญทางพฤติกรรมคือ นกเงือกตัวเมียจะทำรังภายในโพรงไม้ที่มันไม่สามารถเจาะเองได้ ไม่เพียงแต่เข้าไปอยู่อาศัยในโพรงไม้เท่านั้น เมื่อถึงช่วงออกไข่ ทำรัง นกเงือกยังจะปิดปากโพรงเหลือเพียงช่องกว้างเพียงแค่ให้ปากนกเงือกโผล่ออกมาได้เท่านั้น เพื่อรับอาหารจากนกเงือกตัวผู้ที่ไปหาอาหารมา นกเงือกกินผลไม้เป็นอาหารหลัง แต่ก็กินสัตว์เล็กเป็นอาหารด้วย เช่น งู และกิ้งก่า
          นกเงือกเป็นนกที่มีนิสัยผัวเดียวเมียเดียว และมีพฤติกรรมน่าสนใจ ทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้พบเห็น   มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวอยู่ภายในเพื่อออกไข่และผลัดขนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ไข่ และลูกนกที่เกิดมา ส่วนตัวผู้มีหน้าที่หาอาหารมาป้อนให้ถึงรัง ดังนั้นถ้าหากนกเงือกตัวผู้เสียชีวิต เนื่องจากการล่า หรือด้วยกลไกลอื่นในช่วงฤดูทำรัง นั่นหมายถึงเราจะต้องสูญเสียนกเงือกแม่ลูก ที่เฝ้ารอการกลับมาของนกเงือกตัวผู้ไปด้วย เนื่องจากตัวเมียผลัดขนไม่สามารถออกจากรังได้ ทำให้ค่อย ๆ อดอาหารตายอย่างช้า ๆ ทั้งแม่และลูก  ซึ่งนิยายความรักนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นกเงือกเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์
          บทบาทหลักของนกเงือกในระบบนิเวศป่าช่วยกระจายพันธุ์ไม้ป่า ทำหน้าที่เป็นกลไกลหลักของการกระจายเมล็ดพันธุ์ต้นไม้ใหญ่ที่เป็นอาหารของนก และช่วยควบคุมประชากรของสัตว์เล็ก  เช่น   แมลง  และหนูอันอาจเป็นผู้ทำลายเมล็ดซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญในการรักษาโครงสร้างและความสมบูรณ์ของป่า  การอนุรักษ์นกเงือกก่อให้เกิดผลดีอย่างยิ่งต่อการพิทักษ์รักษาคุณภาพระบบนิเวศป่าไม้  เพราะนกเงือกมีอิทธิพลต่อสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศป่าเดียวกัน  จากบทบาทสำคัญในการช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้  นกเงือกจะช่วยฟื้นฟูสภาพธรรมชาติในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับคืนมา  นอกจากนี้ยังมีบทบาทเป็นสัตว์ผู้ล่าซึ่งเป็นการควบคุมประชากรของสัตว์ที่เป็นเหยื่อให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสมดุลแก่ระบบนิเวศวิทยาป่า


ที่มา http://www.khaoyaizone.com